สืบสานสู่ปฏิบัติ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย A call to action: Thailand and the sustainable development goals

สืบสานสู่ปฏิบัติ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย A call to action: Thailand and the sustainable development goals

เป็นหนังสือแปลจากฉบับภาษาอังกฤษชื่อ “A Call to Action: Thailand and the Sustainable Development Goals” มีเนื้อหาที่ตอบโจทย์ผู้อ่านอย่างครบถ้วน ทั้งความหมาย และกรอบการพัฒนาที่ยั่งยืน เหตุและผลว่าทำไมคนไทยทุกคนควรรับรู้ เข้าใจและมีส่วนร่วมในการช่วยให้ประเทศบรรลุ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน อีกทั้งมีข้อมูลเชิงประจักษ์ที่บ่งชี้ว่าปัจจุบันประเทศไทยยืนอยู่ ณ จุดใด และกำลังเคลื่อนประเทศ ไปในทิศทางที่สอดรับกับแต่ละเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติมากน้อยเพียงไร และอย่างไร มีการนำเสนอตัวอย่างรูปธรรมของการน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการทรงงานโครงการพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตรที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ ที่เน้นการพัฒนาคนและพัฒนาประเทศไทยให้ก้าวเดินอย่างสมดุล มั่นคงและยั่งยืนในระยะที่ผ่านมาเชื่อมโยงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติในทุก ๆ มิติ ทั้งมิติเศรษฐกิจ ได้แก่ ภาคเกษตร ภาคบริการและภาคอุตสาหกรรม มิติสังคม และมิติสิ่งแวดล้อม โดยประเทศไทยให้ความสำคัญกับมิติวัฒนธรรมเพิ่มขึ้นอีกด้วย

สารบัญ:

  • บทนำ
  • แผนที่ประเทศไทย
  • ภาพรวมประเทศไทย
  • อารัมภบท
  • ผลการดำเนินงานของประเทศไทยตามดัชนี SDGs

หนังสือฉบับออนไลน์

หนังสือแนะนำชุด “การพัฒนาแบบยั่งยืน” เดือนเมษายน 2566


LOCATIONCALL#STATUS
Central Library (5th Floor)330.9593 ส736 2562CHECK SHELVES

กระบวนทัศน์การศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

กระบวนทัศน์การศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

วิกฤตที่เกิดขึ้นกับความจำเป็นของการเปลี่ยนแปลง -- กระบวนทัศน์การพัฒนา -- การพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย -- การศึกษาเพื่อความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศ -- การศึกษากับการพัฒนาที่ยั่งยืน -- วิชาชีพครูกับการพัฒนาที่ยั่งยืน -- ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาที่ยั่งยืน – กลยุทธ์การจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

หนังสือแนะนำชุด “การพัฒนาแบบยั่งยืน” เดือนเมษายน 2566


LOCATIONCALL#STATUS
Thailand and ASEAN Information Center (6th Floor) : Chula Collection[CU-B] ค 15 018585 2565LIB USE ONLY
Education Library : EDU Chula Collection338.927 ฟ755ก 2565DUE 09-05-24
Central Library (5th Floor)338.927 ฟ755ก 2565CHECK SHELVES
Central Library (5th Floor)338.927 ฟ755ก 2565CHECK SHELVES

ชุมชนนิเวศวิถี : บทเรียนเปลี่ยนชีวิตและโลก

ชุมชนนิเวศวิถี : บทเรียนเปลี่ยนชีวิตและโลก

ชุมชนนิเวศวิถีอาจจะไม่ใช่คำตอบเดียวต่อปัญหาของมุษยชาติ แต่ก็เป็นหนึ่งในหลาย ๆ คำตอบ เราไม่สามารถจะพากันออกไปตั้งชุมชนนิเวศวิถีใหม่กันได้ทุกคน แต่เราสามารถนำบทเรียนจากชุมชนนิเวศวิถีมาปรับใช้ในบ้านของเรา ท้องถิ่น เมือง ประเทศที่เราอยู่ด้วยหลักการพื้นฐานแห่งการแบ่งปันทรัพยากร ความคิด ความฝัน ทักษะความชำนาญ เรื่องราว ความยินดี และความโศกเศร้า ใช่ว่าเราจะต้องอยู่ในชุมชนนิเวศวิถีเท่านั้นถึงจะแบ่งปันกันได้ แต่เมื่อเราแบ่งปันกัน ชุมชนของเราก็จะเริ่มดูคล้ายชุมชนนิเวศวิถีขึ้นมาในที่สุด...

บทที่ 1 วิถีใหม่ เรื่องราวใหม่

บทที่ 2 ชุมชนนิเวศวิถีรอบโลกทั้ง 14 แห่ง

บทที่ 3 นิเวศวิทยา เป็นอยู่อย่างยั่งยืน

บทที่ 4 เศรษฐกิจมั่นคั่ง ยั่งยืน

บทที่ 5 ชุมชน สานสัมพันธ์ที่ยั่งยืน

บทที่ 6 จิตสำนึก ความยั่งยืนจากด้านใน

บทที่ 7 ขยายผล

หนังสือแนะนำชุด “การพัฒนาแบบยั่งยืน” เดือนเมษายน 2566


LOCATIONCALL#STATUS
Central Library (5th Floor)307.77 ส718ช 2563CHECK SHELVES
Central Library (5th Floor)307.77 ส718ช 2563CHECK SHELVES

วิทยาศาสตร์ความยั่งยืน

วิทยาศาสตร์ความยั่งยืน

อุณหภูมิโลกสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามมาด้วยผลกระทบร้ายแรงหลายรูปแบบ น้ำท่วมสลับกับภัยแล้ง ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ผู้คนนับล้านอพยพข้ามประเทศเพราะปัญหาการเมืองและปัญหาเศรษฐกิจ โรคอุบัติใหม่ปรากฏขึ้นเป็นระยะ ๆ ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ไปยังระบบเศรษฐกิจสังคมทั่วโลกอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) ที่ทุกคนพูดถึงและพยายามขับเคลื่อนอยู่ทุกวันนี้…หรือแท้จริงแล้วเป็นเพียง การพัฒนาเพื่อความอยู่รอด (Survival Development) วิทยาศาสตร์ความยั่งยืน (Sustainability Science) ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป แต่เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องพยายามเรียนรู้และทำความเข้าใจ เพื่อใช้เป็นหลักคิดในการเผชิญหน้า ตั้งรับ ปรับตัว และต่อสู้กับความไม่แน่นอนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

สารบัญ:

บทที่ 1 วิทยาศาสตร์ความยั่งยืนคืออะไร Whst is the Sustsinsbility Science?

บทที่ 2 เส้นทางสู่ความยั่งยืน Pathway to Sustainability

บทที่ 3 เป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน Sustainable Development Goals (SDGs)

บทที่ 4 การขับเคลื่อน SDGs ในประเทศไทย Implementing SDGs in Thailand

บทที่ 5 แนวความคิดในการแก้ปัญหาความยั่งยืน Approaches to Tackle Sustainability Problems

บทที่ 6 โลกร้อน Global Warming

หนังสือแนะนำชุด “การพัฒนาแบบยั่งยืน” เดือนเมษายน 2566


LOCATIONCALL#STATUS
Central Library (4th Floor)500 ฉ232ว 2565CHECK SHELVES

การพัฒนาที่ยั่งยืน : Sustainble Development

การพัฒนาที่ยั่งยืน : Sustainble Development

ปาฐกถาที่ท่านเจ้าคุณพระธรรมปิฏก(ประยุทธ์ ปยุตโต) แสดงในงานฉลองอายุครบ 5 รอบ นักกษัตรของอาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ท่านได้มีอุตสาหะตรวจแต่งต้นฉบับให้พิมพ์เป็นเล่มทันในโอกาสอาจารย์สุลักษณ์กลับจากการรับรางวัลสัมมาชีพ(Right Livelihood) ณ ประเทศสวีเดน นับว่าปัญญา เจตนาบุคคล ประกอบกันเป็นปัจจยังคะแห่งความดีแลความงามโดยแท้ เรื่องสัมมาชีพกับเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้นเรื่องเกี่ยวข้องใกล้ชิดกันหรือจะถือเป็นเรื่องเดียวกันก็ได้ เพราะการดำรงชีวิตชอบย่อมนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งองค์ผู้นิพนธ์และผู้เป็นโอกาสแห่งการนิพนธ์เป็นนักปราชญ์ผู้มีเกียรติยศกำจรจายเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง จึงไม่มีข้อสงสัยอันใดว่าหนังสือเล่มนี้จักไม่เป็นที่สนใจอ่านกันอย่างกว้างขวาง

สารบัญ:

ภาค1 ทางตันของการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน

ภาค2 ต้นทางของการพัฒนาที่ยั่งยืน

หนังสือแนะนำชุด “การพัฒนาแบบยั่งยืน” เดือนเมษายน 2566


LOCATIONCALL#STATUS
Central Library (5th Floor)363.7 พ245ก 2565CHECK SHELVES

การไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ในฐานะการพัฒนาแนวใหม่ของโลก

การไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ในฐานะการพัฒนาแนวใหม่ของโลก

การศึกษาการพัฒนาประเทศแนววิพากษ์ (a critical approach) ซึ่งเมื่อก่อนเป็นทางเลือก (alternative) ทางหนึ่งของการพัฒนาของโลก ปัจจุบันทางเลือกดังกล่าวได้กลายเป็นการพัฒนากระแสหลัก (mainstream development) เมื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนฉบับ SDGs นำไปใช้เป็นฐานคิดในการกำหนดจุดมุ่งหมายการพัฒนาของโลก ช่วง ค.ศ. 2016-2030 โดยมีชื่อในทางทฤษฎีว่า "การพัฒนาทุกภาคส่วน" (inclusive development) หมายถึงการพัฒนาสังคมทุกส่วน (social inclusive development) นักวิชาการหลายคนยังคาดการณ์ว่าถึงแม้การพัฒนาจะดำเนินไปจนจบเป้าหมายใน ค.ศ. 2030 แล้ว การพัฒนาทุกส่วนจะยังคงเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการพัฒนาของโลกต่อไปในอนาคต เนื่องจากมีจุดเด่นในแนวมนุษยนิยมและสิทธิมนุษยชนอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน

สารบัญ:

บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพัฒนาที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

บทที่ 2 ทฤษฎีการพัฒนาทุกส่วน การพัฒนาที่ยั่งยืนฉบับ SDGs กับสิทธิมนุษยชน

บทที่ 3 ความอยากจนและความเหลื่อมล้ำ

บทที่ 4 การกีดกันทางสังคม

บทที่ 5 ใครบ้างที่ยังถูกทิ้งไว้ข้างหลัง

บทที่ 6 แนวทางการพัฒนาทุกส่วน

บทที่ 7 นโยบายการพัฒนาทุกส่วน

บทที่ 8 การเมืองกับการพัฒนาทุกส่วน

หนังสือแนะนำชุด “การพัฒนาแบบยั่งยืน” เดือนเมษายน 2566


LOCATIONCALL#STATUS
Central Library (5th Floor)303.44 ร861ก 2566CHECK SHELVES
Central Library (5th Floor)303.44 ร861ก 2566CHECK SHELVES

Collection