การทำหน้าที่ของครัวเรือนไทย ภายใต้บริบทสังคมสูงวัย

การทำหน้าที่ของครัวเรือนไทย ภายใต้บริบทสังคมสูงวัย

หนังสือเล่มนี้ เป็นการสังเคราะห์งานศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับครอบครัวไทย เพื่อเสริมการทำหน้าที่ของครอบครัวภายใต้บริบทสังคมสูงวัย สกัดองค์ความรู้เกี่ยวกับครอบครัวไทยจากโครงการศึกษาวิจัยที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว. หรือ สกว. เดิม) ได้ให้เงินสนับสนุนการวิจัย ระหว่างปี พ.ศ. 2558 - 2561 โดยนำเสนอเนื้อหา 2 ส่วน

ส่วนที่ 1 สถานการณ์ครอบครัวไทย ประกอบด้วยเนื้อหา บทนำ ทำไมคนไทยมีลูกน้อย หน้าที่ของครอบครัวในการดูแลเด็ก การดูแลผู้สูงอายุ และ สถานการณ์ครัวเรือนข้ามรุ่น

ส่วนที่ 2 ระบบเกื้อหนุนครอบครัว ประกอบด้วยเนื้อหา บทบาทของรัฐบาลต่อการกินดีอยู่ดีของครัวเรือน บทบาทของภาคเอกชนต่อการกินดีอยู่ดีของครัวเรือน บทสรุปและข้อเสนอแนะ

หนังสือแนะนำ “ครอบครัว” จัดแนะนำที่ชั้น 1 สำนักงานวิทยทรัพยากร เดือน เมษายน 2565


LOCATIONCALL#STATUS
Central Library (5th Floor)306.85 อ286ก 2564CHECK SHELVES

 รู้ไว้บำบัดใจ

รู้ไว้บำบัดใจ

... ปัญหาใจพบได้ในทุกเพศ ทุกวัย และเป็นเรื่องที่อยู่ในชีวิตประจำวัน จนบางครั้งอาจรู้สึกว่าเรื่องเล็กน้อยแค่นี้ทำไมถึงส่งผลใหญ่หลวงขนาดนั้น เช่น พฤติกรรมไม่พึงประสงค์ของลูก ปัญหาการดูแลผู้สูงอายุในครอบครัวที่ส่งผลต่อสภาพจิตใจของสมาชิกในบ้าน... การทำความเข้าใจ ปรับตัว ยอมรับ เห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกันก็เป็นวิธีเบื้องต้นในการฝ่าฟันปัญหาใจ และหากเราเรียนรู้ปัญหาใจจากแง่มุมที่หลากหลายรวมถึงคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตใจก็จะสามารถใช้เป็นกรณีศึกษาหากต้องพบเหตุการณ์ลักษณะเดียวกันหรือคล้ายกันได้ในอนาคต... (คำนำ)

หนังสือนำเสนอความรู้ จิตวิทยา ปัญหาใจ และแนวทางบำบำบัด

บทที่ 1 ว่าด้วยเรื่องจิตวิทยา – จิตวิทยาช่วยเราได้อย่างไร สมองและจิตใจทำงานกันอย่างไร จิตใต้ สำนึกตั้งอยู่ที่ไหน เครื่องมือจับภาพจิตใต้สำนึก

บทที่ 2 จิตวิทยาบำบัดอารมณ์ – อารมณ์ควบคุมหรือกำกับ อารมณ์ทุกข์ อารมณ์เบื่อกับงาน อารมณ์โกรธ อารมณ์กับโซเซียลเน็ตเวิร์ก

บทที่ 3 จิตวิทยากับครอบครัว – ปัญหาครอบครัว ปัญหาคู่สมรส ปัญหาผู้สูงอายุ

บทที่ 4 จิตวิทยาเด็กและวัยรุ่น – เลี้ยงลูกอย่างไร เพื่อให้ได้อะไร การเล่น การอ่าน การเข้าสังคม

บทที่ 5 จิตวิทยาบำบัดโรค – พันธุกรรมไม่ใช่ฟ้าลิขิต โรคซึมเศร้าอีกครั้งหนึ่ง ความหลากหลายของโรคไบโพลาร์ เรื่องน่ารู้ใหม่เกี่ยวกับนอนไม่หลับ ยาจิตเวชช่วยได้ทุกเรื่องจริงหรือ...

หนังสือแนะนำ “ครอบครัว” จัดแนะนำที่ชั้น 1 สำนักงานวิทยทรัพยากร เดือน เมษายน 2565


LOCATIONCALL#STATUS
Central Library (5th Floor)150 ป421ร 2563CHECK SHELVES
Central Library (5th Floor)150 ป421ร 2563DUE 14-03-24
Medicine LibraryWM140 ป421ร 2563CHECK SHELVES

ทำไมบ้านทำร้ายเรา

ทำไมบ้านทำร้ายเรา

... กรอบความคิดของหนังสือนี้ เป็นหนังสือที่สร้างความอบอุ่นในหัวใจ รวมถึงปัญหาพื้นฐาน วิธีการรักลูกที่น่าจะสร้างความสั่นสะเทือน บอกเล่าตามความเป็นจริงและเจาะลึก และสิ่งที่สำคัญยิ่งกว่า ก็คือ ทฤษฎีจิตวิทยาที่จะทำให้เรามองเห็นชัดเจนว่า กลไกของครอบครัวทำงานอย่างไรและทำร้ายเราอย่างไร จะแก้ไขหรือหลีกเลี่ยงอย่างไร ช่วยให้รู้จักและเปลี่ยนแปลงตัวเอง รวมถึงปรับปรุงความสัมพันธ์ในครอบครัว... (คำนำ)

หนังสือที่มียอดขายมากกว่า 1 ล้านเล่มในประเทศจีน นำเสนอเนื้อหา

บทที่ 1 ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยาเป็นศูนย์กลางของครอบครัว – อย่าเอาเกณฑ์ของตัวเองมาวัดกับอีกฝ่าย อย่านำจิตวิทยากฎระเบียบของอำนาจหน้าที่กลับมาบ้าน ลูกไม่ควรเป็นคนที่คุณรักมากที่สุด...

บทที่ 2 การแยกห่างเป็นความแน่นอนของชีวิต – พ่อแม่ไม่ใช่คำตอบของลูก การแยกห่างเป็นความแน่นอนของชีวิต เด็กชายเข้าสู่โลกของผู้ชาย เด็กหญิงเข้าสู่โลกของผู้หญิง การตามใจลูกที่จริงคือการตามใจตัวเอง ความรักที่สร้างความอึดอัดมาจากความเห็นแก่ตัว การแบ่งแยกด้านจิตใจเกิดขึ้นได้อย่างไร วัยรุ่นที่ขมขื่น บ่มเพาะโรคทางประสาท ถ้าเด็กมีปัญหา ผู้ใหญ่ควรทบทวนตัวเอง...

บทที่ 3 อย่าเอาความกังวลถ่ายโอนไปที่ลูก – ทำไมเด็กถึงให้อินเทอร์เน็ตเป็นที่ ลูกสอบตกเป็นประจำอาจมีเรื่องในใจ เผชิญความสำเร็จและความล้มเหลวในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยไปพร้อมลูก ให้ความรู้กับลูกไม่สู้ให้ความรักกับลูก การสั่งสอนทำเพื่อเด็กหรือเพื่อผู้ใหญ่ ลูกเป็นเทพปกป้องของครอบครัวไม่ได้...

บทที่ 4 ครอบครัวแบบจีน – ความกตัญญูโดยไม่ไตรตรองฝึกฝนอย่างไร ห่วงโซ่วงจรของครอบครัวจีน 6 คำโกหกที่มีความห่วงใย รูปแบบความรักของคนจีน...

หนังสือแนะนำ “ครอบครัว” จัดแนะนำที่ชั้น 1 สำนักงานวิทยทรัพยากร เดือน เมษายน 2565


LOCATIONCALL#STATUS
Central Library (5th Floor)306.8 อ868ท 2562CHECK SHELVES
Central Library (5th Floor)306.8 อ868ท 2562CHECK SHELVES

การพัฒนากระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวในบริบทสังคมไทย

การพัฒนากระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวในบริบทสังคมไทย

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ลักษณะความเข้มแข็งของครอบครัว วิธีและปัจจัยการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวในบริบทสังคมไทย 2) พัฒนากระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวในบริบทสังคมไทย 3) เสนอแนวทางการใช้กระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวในบริบทสังคมไทย ระเบียบวิธีที่ใช้ในการวิจัย คือ การวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการศึกษาแบบพหุกรณีศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสารและสื่อ แบบสัมภาษณ์ และประเด็นสนทนากลุ่ม โดยการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลคุณลักษณะของบริบทสังคมไทยที่มีในครอบครัวนำไปใช้ในการวิเคราะห์เนื้อหาของทุกวัตถุประสงค์ โดยมีวิธีการดำเนินการวิจัย (1) เพื่อศึกษาวัตถุประสงค์ที่ 1: ศึกษาเอกสารและสื่อจำนวน 12 รายการ และสัมภาษณ์เชิงลึก ครอบครัวที่มีความเข้มแข็งจำนวน 15 ครอบครัว (2) เพื่อศึกษาวัตถุประสงค์ที่ 2: สัมภาษณ์ครอบครัวที่มีความเข้มแข็ง 15 ครอบครัวเดิม และการสนทนากลุ่มครั้งที่ 1 (3) เพื่อศึกษาวัตถุประสงค์ที่ 3: สนทนากลุ่มครั้งที่ 2 และสรุปแนวทางการใช้กระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวในบริบทสังคมไทย โดยผลการวิจัย พบว่า 1. ข้อค้นพบตามวัตถุประสงค์ที่ 1 มี 3 ส่วน คือ 1.1) ลักษณะความเข้มแข็งของครอบครัว มี 9 ประการ ดังนี้ (1) มีสัมพันธภาพที่ดี (2) รู้บทบาทหน้าที่ของตน (3) การยึดมั่นคำสัญญา เชื่อใจ และมีความเชื่อ (4) มีการสื่อสารระหว่างกันและกันในด้านบวก (5) มีทุนทางสังคม (6) มีความสามารถในการพึ่งตนเอง (7) มีความสามารถในการจัดการปัญหา (8) มีหลักคำสอนศาสนายึดเหนี่ยวจิตใจในครอบครัว (9) มีลักษณะความเป็นพ่อแม่ต้นแบบและเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต 1.2) วิธีการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวในบริบทสังคมไทย มี 6 ประการ ดังนี้ (1) การพูดคุย สนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น (2) การทำตัวเป็นแบบอย่าง (3) การปรับตัว การปรับวิธีคิด การปรับความเชื่อ และความพร้อมในการเปลี่ยนแปลง (4) การเรียนรู้ในครอบครัว (5) การปลูกฝังให้เป็นครอบครัวคุณธรรม (6) การเรียนรู้ทักษะชีวิตและทักษะการอยู่ร่วมกันกับคนอื่น 1.3) ปัจจัยการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวในบริบทสังคมไทย มี 8 ปัจจัย ดังนี้ (1) ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม (2) ปัจจัยด้านการดำเนินชีวิต (3) ปัจจัยด้านสัมพันธภาพ (4) ปัจจัยด้านเศรษฐกิจของครอบครัว (5) ปัจจัยด้านสุขภาพของครอบครัว (6) ปัจจัยด้านการสื่อสารทัศนคติเชิงบวก (7) ปัจจัยด้านคุณธรรมจริยธรรมและวัฒนธรรมการเรียนรู้ (8) ปัจจัยด้านความมีศาสนา 2. ข้อค้นพบตามวัตถุประสงค์ที่ 2 คือ กระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวในบริบทสังคมไทย มี 6 ขั้นตอน ดังนี้ 2.1) ทำความเข้าใจและยอมรับซึ่งกันและกัน 2.2) วางเป้าหมาย 2.3) กำหนดแนวทางปฏิบัติร่วมกัน 2.4) ปฏิบัติตามแนวคิดร่วมกัน 2.5) ร่วมพูดคุยกันหลังปฏิบัติ 2.6) ทบทวนและปรับพัฒนา 3. ข้อค้นพบตามวัตถุประสงค์ที่ 3 คือ แนวทางการใช้กระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวในบริบทสังคมไทย ประกอบด้วย ความเชื่อพื้นฐาน ปัจจัยสนับสนุน วิธีการ และเงื่อนไขการใช้ และผู้วิจัยเสนอระดับการใช้ ประกอบด้วย 3.1) ระดับนโยบาย แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ (1) นโยบายการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตในครอบครัว และ (2) นโยบายส่งเสริมความเข้มแข็งของครอบครัว และ 3.2) ระดับปฏิบัติการ แบ่งเป็นระดับ 4 ส่วน คือ (1) บุคคล/ตนเอง (2) ครอบครัว (3) โรงเรียน (4) ชุมชน (บทคัดย่อ)

วิทยานิพนธ์ฉบับออนไลน์ http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64764

หนังสือแนะนำ “ครอบครัว” จัดแนะนำที่ชั้น 1 สำนักงานวิทยทรัพยากร เดือน เมษายน 2565


พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550: จากเจตนารมณ์สู่การปฏิบัติ

พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550: จากเจตนารมณ์สู่การปฏิบัติ

การวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ 4 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและสถานการณ์ของสตรีที่ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว หลังจากที่มีการนำพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 ไปบังคับใช้ 2) เพื่อศึกษาแนวคิด ที่มา เจตนารมณ์และกระบวนการออกพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 โดยศึกษาเปรียบเทียบจากปฏิญญาว่าด้วยการขจัดความรุนแรงต่อสตรี (Declaration on the Elimination of Violence Against Women) 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และผลกระทบต่อหน่วยงานที่บังคับใช้กฎหมาย สตรีที่ถูกกระทำด้วยความรุนแรง และผลกระทบต่อสังคม ในการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 และ 4) เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบของกระบวนการออกกฎหมายและบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวเพื่อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงพัฒนากระบวนการออกกฎหมาย และการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อเสริมพลังสตรีที่ถูกกระทำด้วยความรุนแรง โดยผู้วิจัยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ และใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interviews) เพื่อรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่าเจตนารมณ์ในการออกกฎหมายคือ 1) เพื่อเปิดโอกาสให้รัฐและประชาชนเข้ามามีส่วนในการรักษาสิทธิต่อเด็ก เยาวชน และบุคคลในครอบครัวได้รับความคุ้มครองจากการใช้ความรุนแรงและการปฏิบัติอันไม่เป็นธรรม 2) เพื่อใช้กฎหมายคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวแทนการใช้กฎหมายอาญา กรณีการกระทำความรุนแรงในครอบครัว 3) เพื่อแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิด และปกป้องคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรง 4) เพื่อรักษาสถานภาพความเป็นครอบครัว เมื่อนำพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 ไปใช้บังคับ พบว่ามีปัญหาหลัก 5 ประการ ดังนี้ 1) ในมาตรา 5 ต้องให้มีการร้องทุกข์ให้เป็นคดีก่อนแล้วจึงมีกลไกในการคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว การฟื้นฟูและปรับปรุงพฤติกรรม 2) เปิดโอกาสให้ยอมความได้ในทุกชั้นของกระบวนการยุติธรรม 3) เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานที่ประสานกันระหว่างหน่วยงานเป็นไปด้วยความยากลำบาก 4) ความไม่รู้กฎหมายของประชาชน และ 5) มีงบประมาณไม่เพียงพอสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการ สิ่งเหล่านี้ควรเร่งแก้ไขปรับปรุงให้กฎหมายมีความชัดเจน สร้างแนวทางการปฏิบัติงานให้เจ้าหน้าที่ ตลอดจนสร้างความรู้เรื่องกฎหมายให้ประชาชนทุกกลุ่มเข้าถึงได้เพื่อให้ประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงสามารถใช้กฎหมายดังกล่าวเพื่อปกป้องสิทธิของตนเองได้ (บทคัดย่อ)

วิทยานิพนธ์ฉบับออนไลน์ http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64828

หนังสือแนะนำ “ครอบครัว” จัดแนะนำที่ชั้น 1 สำนักงานวิทยทรัพยากร เดือน เมษายน 2565


เพศต้องห้าม: การวิเคราะห์ในเชิงอาชญาวิทยาและวิพากษ์โดยใช้ทฤษฎีเควียร์ถึงความรุนแรงในครอบครัวต่อทายาทชายที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) ในสังคมไทย

เพศต้องห้าม: การวิเคราะห์ในเชิงอาชญาวิทยาและวิพากษ์โดยใช้ทฤษฎีเควียร์ถึงความรุนแรงในครอบครัวต่อทายาทชายที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) ในสังคมไทย

งานวิจัยเป็นการศึกษาถึงปัญหาความรุนแรงในครอบครัวของสังคมไทยต่อทายาทชายที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) ซึ่งมีรูปแบบของสาเหตุความรุนแรงที่มี “ลักษณะพิเศษ” เนื่องจากการใช้ความรุนแรงต่อทายาทชายที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) นั้น ล้วนเกิดจากการมลทินประทับ (Stigmatization) ว่าบุคคลที่มีอัตลักษณ์ทางเพศที่แตกต่างจากบรรทัดฐานทางสังคมนั้นเป็นสิ่งที่ “ผิดปกติ” และ “น่าอับอาย” จึงส่งผลให้พ่อและแม่เลือกวิธีการใช้ความรุนแรงในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเบี่ยงเบน (Deviant Behavior) ของทายาทให้กลับสู่ความเป็น “ปกติ” ตามบรรทัดฐานของสังคมที่ได้กำหนดไว้ จากการศึกษาวิจัย พบว่า สาเหตุของการใช้ความรุนแรงในครอบครัวต่อทายาทเพศต้องห้าม (LGBTQ) ของสังคมไทย ล้วนเกิดจากการมลทินประทับ (Stigmatization) ของสมาชิกในครอบครัว ว่าเป็นสิ่งที่ “แตกต่าง” ไปจากบรรทัดฐานทางสังคมโดยทั้งสิ้น ซึ่งการมลทินประทับต่อเพศสภาพที่หลากหลาย (LGBTQ) ของครอบครัวในสังคมไทยสามารถจำแนกได้ 4 รูปแบบ ดังนี้ 1) การมลทินประทับบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) ว่าเป็นผู้ที่มีความ “ผิดปกติ” “วิปริต” หรือเป็นความบกพร่องทางจิตรูปแบบหนึ่ง 2) การมลทินประทับว่าการมีทายาทชายที่เป็นบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) เป็นการบ่อนทำลายภาพลักษณ์ของครอบครัว 3) การมลทินประทับว่าทายาทชายที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) ไม่สามารถสืบต่อสกุล / วงศ์ตระกูลได้ 4) การมลทินประทับว่าอนาคตของทายาทชายที่เป็นบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) จะต้องเผชิญกับความล้มเหลวในชีวิต ซึ่งจากการวิพากษ์โดยทฤษฎีเควียร์ (Queer Theory) ต่อการมลทินประทับของครอบครัวไทยต่อทายาทชายที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) ทั้ง 4 รูปแบบ ก็ถือว่าเป็นการยืนยันถึงการ ”ดำรงอยู่” ของบรรทัดฐานทางสังคมแบบกลุ่มคนรักเพศตรงข้าม (Heteronormativity) ว่ายังคงมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของคนในสังคมไทยอยู่ ทั้งนี้ แนวทางการยุติความรุนแรงความรุนแรงในครอบครัวต่อทายาทเป็นผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับความร่วมมือจากครอบครัว ชุมชน และภาครัฐในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ควบคู่ไปกับการรื้อถอนการประกอบสร้างทางสังคม (Deconstruction) ว่าด้วยเรื่องของไม่เท่าเทียมทางเพศที่เกิดขึ้นในบริบทของสังคมไทย เพื่อธำรงไว้ซึ่งความเสมอภาคกันทางเพศ ตลอดจนการเคารพสิทธิและเสรีภาพในการเป็น “มนุษย์” คนหนึ่ง (บทคัดย่อ)

วิทยานิพนธ์ฉบับออนไลน์ http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70426

หนังสือแนะนำ “ครอบครัว” จัดแนะนำที่ชั้น 1 สำนักงานวิทยทรัพยากร เดือน เมษายน 2565


Collection