ออริจินอลส์ : เพราะความเหมือนไม่เคยเปลี่ยนโลก (Originals : how non-conformists change the world)

ออริจินอลส์ : เพราะความเหมือนไม่เคยเปลี่ยนโลก (Originals : how non-conformists change the world)

... ตลอดการอ่านหนังสือเล่มนี้ ฉันได้เรียนรู้ว่า ผู้สร้างสรรค์ที่ยอดเยี่ยมไม่จำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญมากกว่าใคร แต่ต้องเป็นคนที่แสวงหามุมมองที่กว้างไกลที่สุด... (คำนำ)

เนื้อหาหนังสือ มี 8 บท ดังนี้

  • บทที่ 1 การทำลายล้างเชิงสร้างสรรค์ – ค้นหาจุดบกพร่องในค่าเริ่มต้นอัตโนมัติ ความทะเยอทะยานเปรียบเสมือนเหรียญที่มีสองด้าน...
  • บทที่ 2 นักสร้างสรรค์ตาบอดและนักลงทุนตาเดียว – การเสี่ยงในเรื่องความคิดสร้างสรรค์ คนที่ติดกับแนวคิดตั้งต้นและพอใจในแนวทางเดิม ๆ อันตรายของสัญชาตญาณ: จุดที่สตีฟ จ็อบส์ทำพลาด มุมมองที่ถูกต้องในการคัดกรองแนวคิด...
  • บทที่ 3 หัวเดียวกระเทียมลีบ – อำนาจที่ปราศจากสถานะ สิ่งที่ไม่คุ้นเคยก่อให้เกิดการดูหมิ่น ทางที่ต้องเลือก เส้นทางที่ไม่ได้เลือก...
  • บทที่ 4 คนโง่ชอบผลีผลาม – อีกหนึ่งรหัสลับดาวินชี ศาสตร์แห่งการผัดผ่อน ผู้บุกเบิกและผู้ตามรอย วงจรชีวิตสองแบบของความคิดสร้างสรรค์...
  • บทที่ 5 โกลดิล็อกส์และม้าโทรจัน – หมกมุ่นอยู่กับความแตกต่างอันเล็กน้อย คนสุดโต่งที่ยอมอ่อนข้อ ศัตรูเป็นพันธมิตรที่ดีกว่าเพื่อนที่ชิงดีชิงเด่นกัน การสร้างความร่วมมือท่ามกลางความขัดแย้ง...
  • บทที่ 6 ต้นกำเนิดคนหัวขบถ – เกิดมาเพื่อเป็นคนหัวขบถ ทฤษฎีการเลือกลักษณะเฉพาะตัว แข่งขันด้วยการไม่แข่งขัน คำอธิบายที่ยิ่งใหญ่ ทำไมพ่อแม่ถึงไม่ใช่ตัวอย่างที่ดีที่สุด...
  • บทที่ 7 ทบทวนการคิดตามกลุ่ม – โครงสร้างองค์กรกับความสำเร็จ ปัญหาเรื่องการเติบโต วัฒนธรรมแบบคิดต่าง ผู้ขับเคลื่อนและผู้สร้างอิทธิพล..
  • บทที่ 8 สร้างความสั่นคลอนไปกับการรักษาความมั่นคง – พลังบวกของการคิดลบ อย่าหมดความเชื่อมั่น แรงบันดาลใจจากภายนอก เร่งเคลื่อน การแสดงต้องดำเนินต่อไป ราดน้ำมันลงบนกองไฟ...

หนังสือเล่มหนึ่งจากหลายเล่มในนิทรรศการหนังสือแนะนำ “คิด คิด... คิดสร้างสรรค์” จัดแนะนำ ชั้น 1 สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดือน พฤศจิกายน - ธันวาคม 2563


LOCATIONCALL#STATUS
Central Library (4th Floor)658.4063 ก888อ 2563CHECK SHELVES
Central Library (4th Floor)658.4063 ก888อ 2563CHECK SHELVES

ความคิดคุณขายได้เท่าไหร่? (Insight out)

ความคิดคุณขายได้เท่าไหร่? (Insight out)

... คุณสามารถลับคมความคิดสร้างสรรค์ได้ด้วยการฝึกสังเกตและเรียนรู้ เชื่อมประสานไอเดีย กรอบปัญหาใหม่และคิดให้ไกลกว่าคำตอบแรกที่เห็นหรือนึกออก คุณสามารถเพิ่มพูนความคิดสร้างสรรค์ได้ด้วยการสร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการแก้ไขปัญหาและคิดไอเดียใหม่ ๆ สร้างทีมที่อุทิศตัวให้กับการคิดค้นนวัตกรรม... (จดหมายถึงผู้อ่าน)

เนื้อหา มี 4 ส่วน พร้อมแบบฝึกหัด ดังนี้

  • ส่วนที่ 1 จินตนาการ – ทุ่มเท และสร้างจินตภาพ
  • ส่วนที่ 2 ความคิดสร้างสรรค์ – มีแรงจูงใจ และลงมือทดลอง
  • ส่วนที่ 3 นวัตกรรม – จดจ่อ และตีกรอบใหม่
  • ส่วนที่ 4 ความเป็นผู้ประกอบการ – บากบั่น และสร้างแรงบันดาลใจ
  • บทสรุปและสรุปแบบฝึกหัด

หนังสือเล่มหนึ่งจากหลายเล่มในนิทรรศการหนังสือแนะนำ “คิด คิด... คิดสร้างสรรค์” จัดแนะนำ ชั้น 1 สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดือน พฤศจิกายน - ธันวาคม 2563


LOCATIONCALL#STATUS
Central Library (4th Floor)650.1 ซ349ค 2563CHECK SHELVES
Central Library (4th Floor)650.1 ซ349ค 2563CHECK SHELVES
Chula Business School Library650.1 ซ349ค 2563CHECK SHELVES

คนแปลกเท่านั้นที่สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ได้ (Atama ga yokunaru gyakusetsu no shikoujutsu)

คนแปลกเท่านั้นที่สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ได้ (Atama ga yokunaru gyakusetsu no shikoujutsu)

... ลองคิดตรงข้ามกับสิ่งที่เคยถูกสอนมา สงสัยในความถูกต้องหรือความเชื่อต่าง ๆ ค้นหาตัวตนที่แท้จริงของตัวเองไปพร้อม ๆ กับหนังสือเล่มนี้ เมื่อคิดได้เช่นนั้น ในหัวคุณจะโล่งโปร่งสบาย ปราศจากความกังวลต่อสิ่งต่าง ๆ รอบตัว และสามารถสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมาได้... (คำนำ)

หนังสือที่ผู้เขียนนำเสนอเนื้อหา

  • วิธีทำลายชีวิต – วิธีทำลายชีวิต จุดที่พบความสุขที่แสวงหา ใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ ชีวิตที่พร่องคือชีวิตที่ไม่เป็นตัวของตัวเอง สร้างชีวิตที่ปราศจากสิ่งรบกวนจิตใจ สิ่งที่ได้รับจากชีวิตที่ผ่านมา เครื่องหมายหยุดที่มีเพื่อบ่มเพาะกำลังขึ้นมาใหม่ จงมีเวลาที่สงบสันติให้มากขึ้น คำแนะนำในการอ่านหนังสือ แฟชั่นคือมารยาท อย่าดีแต่ว่าคนอื่น...
  • อย่าใฝ่หาวิธีการ – เพียงทำอะไรให้ตลอดรอดฝั่งก็ถือเป็นประสบการณ์แล้ว พรสวรรค์คือการทำอะไรบางอย่าง มืออาชีพคืออะไร อย่าจำกัดความสามารถของตัวเอง ข้องเกี่ยวกับทุกสิ่งอย่างจริงจังแล้วจะค้นพบความหมายของมัน สิ่งใหม่ ๆ ไม่อาจเกิดได้ด้วยมุมมองที่จำกัด คนแปลกสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ มนุษย์ที่สร้างสิ่งใหม่ ๆ ได้เป็นแบบไหน จงเป็นภาชนะปากกว้างที่มีที่ริน...
  • จงแบ่งแยกเรื่องเล็กและเรื่องใหญ่ออกจากกัน – อย่าถูกแบบแผนตายตัวชักจูง จงมีคำถามแทนที่จะสงสัย เผชิญหน้ากับความจริงโดยไม่ต้องแบก ผ่าทางตัน เวลาอยู่ภายในตัวเราเอง ตระหนักรู้ถึงอคติของตน พลังสร้างสรรค์เกิดจากถ้อยคำ ปัญญาที่จะเปลี่ยนสังคม จงแบ่งแยกเรื่องเล็กและเรื่องใหญ่ออกจากกัน...
  • ความสบายใจไม่เกิดจนกว่าจะตาย – ความกังวลเป็นเรื่องปกติที่ต้องมี มองดูความทุกข์ให้เห็นตลอด ถ้าไม่สบายใจก็จงไปหาโรงพยาบาลที่ชื่อร้านหนังสือ การเตรียมใจรับความไม่มั่นคงเป็นภูมิคุ้มกันของชีวิต ความสงบใจไม่เกิดจนกว่าจะตาย...

หนังสือเล่มหนึ่งจากหลายเล่มในนิทรรศการหนังสือแนะนำ “คิด คิด... คิดสร้างสรรค์” จัดแนะนำ ชั้น 1 สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดือน พฤศจิกายน - ธันวาคม 2563


LOCATIONCALL#STATUS
Central Library (5th Floor)153.42 ฮ379ค 2562CHECK SHELVES
Central Library (5th Floor)153.42 ฮ379ค 2562CHECK SHELVES

หนึ่ง บวก หนึ่ง เท่ากับ สาม (One plus one equals three)

หนึ่ง บวก หนึ่ง เท่ากับ สาม (One plus one equals three)

... สตีฟ จ็อบส์ กล่าวว่า แนวคิดใหม่ ๆ เป็นเพียงการจับองค์ประกอบเก่า ๆ มาผสมผสานกันในรูปแบบใหม่ เขาบอกว่าความสามารถในการหารูปแบบใหม่ ๆ ขึ้นอยู่กับความสามารถในการมองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ นั่นคือ สิ่งที่ทำให้บางคนมีความคิดสร้างสรรค์มากกว่า คนเหล่านั้นสังเกตเห็นความเชื่อมโยงและมองเห็นความสัมพันธ์ที่เป็นไปได้ของสิ่งต่าง ๆ ได้ดีกว่า... (บทนำ)

หนังสือเล่มนี้ มีเนื้อหา 9 ส่วน ดังนี้

  1. การเสียใจภายหลังแย่กว่าการขายหน้า – สิ่งที่มีอยู่สำคัญกว่าสิ่งที่ไม่มี สิ่งที่น่ากลัวที่สุดคือความกลัว การเสียใจภายหลังแย่กว่าการขายหน้า สิ่งที่คนหัวทึบมองไม่เห็น...
  2. การออกแบบทางเลือก – การออกแบบทางเลือก การอ่านทำให้เราเป็นอิสระ ให้ดอกไม้พูดแทน หาวิธีใหม่ การตีกรอบและการตีกรอบใหม่...
  3. ยึดมั่นในจิตวิญญาณของกฎหมาย ไม่ใช่กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร – เป็นที่ยอมรับหรือถูกหยามเหยียด การคิดเป็นเรื่องยาก เมื่อการคิดกลายเป็นอุปสรรค...
  4. ข้อความคือสื่อกลาง – ภาษาที่เหมาะสม การนำเสนอเหนือกว่ากลยุทธ์ ข้อมูลมหาศาลกับการใช้ข้อมูลอย่างฉลาด ข้อความคือสื่อกลาง นำเสนอไอเดียด้วยไม้จิ้มฟัน...
  5. หายนะคือของขวัญ – หายนะคือของขวัญ แผนสำรอง ความคิดสร้างสรรค์เริ่มต้นจากข้อสรุป...
  6. คุณค่าของความไม่รู้ – สูตรสำเร็จยับยั้งการคิด พวกเขาไม่รู้ว่าตัวเองไม่รู้ แรงกระตุ้น...
  7. จงตั้งคำถามกับคำถาม – ตีความโจทย์ใหม่ สิ่งที่สำคัญที่สุดมีเพียงอย่างเดียว...
  8. ความเชื่อเหนือข้อเท็จจริง – จงสร้างความต้องการก่อนจะขาย สองหัวก็สองความคิด การเขียนคือการปรับแก้ การพูดคุยเป็นเรื่องดี จุดที่คนอื่นไม่สนใจ...
  9. ความคิดสร้างสรรค์คือความยุ่งเหยิง – ชีวิตคือการขาย ความคิดสร้างสรรค์คือความยุ่งเหยิง การเรียนรู้หยุดยั้งการคิดอย่างไร...

หนังสือเล่มหนึ่งจากหลายเล่มในนิทรรศการหนังสือแนะนำ “คิด คิด... คิดสร้างสรรค์” จัดแนะนำ ชั้น 1 สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดือน พฤศจิกายน - ธันวาคม 2563


LOCATIONCALL#STATUS
Central Library (5th Floor)153.42 ท158ห 2562CHECK SHELVES
Central Library (5th Floor)153.42 ท158ห 2562CHECK SHELVES

โลกหมุนเร็วขึ้น ต้องคิดให้ช้าลง : วิธีการกู้คืนความคิดสร้างสรรค์ของคุณจากวัฒนธรรมการทำงานในหลากมิติ (Too Fast to Think)

โลกหมุนเร็วขึ้น ต้องคิดให้ช้าลง : วิธีการกู้คืนความคิดสร้างสรรค์ของคุณจากวัฒนธรรมการทำงานในหลากมิติ (Too Fast to Think)

... Too Fast to Think นำมาซึ่งข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญจากหลากหลายวิชาเกี่ยวข้องกับธรรมชาติของความคิดสร้างสรรค์ นอกจากนี้ยังเน้นย้ำถึงภัยคุกคามที่เกิดขึ้นจากสภาวะ ข้อมูลท่วมท้น (Information Overload) ต่อความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละคน ซึ่งอาจจะมีผลต่อคุณภาพของงาน ความสัมพันธ์ สุขภาพกาย และสภาวะจิตใจของเรา... (คำนิยม)

หนังสือเล่มนี้ มีเนื้อหา 7 บท ดังนี้

  • บทนำ – ปัญหาของการโอเวอร์โหลด ความคิดสร้างสรรค์ทั่วโลก ลักษณะสร้างสรรค์ 8 ประการ
  • บทที่ 1 ข้อมูลที่ท่วมท้นและวิธีการที่มันเปลี่ยนแปลงเรา – ขนาดของข้อมูลที่ท่วมท้น ความบิดเบี้ยวของคนยุคใหม่จากภาวะข้อมูลล้น ข้อมูลที่ท่วมท้นเปลี่ยนแปลงสื่อได้อย่างไร การไม่มีข้อมูลมีความสัมพันธ์กับไม่มีอะไรเกิดขึ้น...
  • บทที่ 2 เราปล่อยให้ตัวเองโอเวอร์โหลดขนาดนี้ได้อย่างไร – การแข่งขันและความเชื่อมั่น อะไรคือปัญหาในระบบ โลกสองใบที่ยังห่างไกลกันมาก ศิลปะที่ใช้ในทางวิทยาศาสตร์...
  • บทที่ 3 ชีวิตที่พร้อมตลอดเวลาและผลของมัน – ทำความเข้าใจคนแบบ A การประชุม การทักทาย การออกแบบสำนักงาน
  • บทที่ 4 สมองของคุณและวิธีการใช้ – สิ่งที่คุณสามารถทำได้ กระบวนการของสมองซีกซ้ายและซีกขวา ภาวะลื่นไหลและจังหวะ: หนทางสู่ความคิดสร้างสรรค์ที่ยั่งยืน...
  • บทที่ 5 เรื่องของการนอนหลับ – ความเชื่อมโยงของเทคโนโลยีและการนอน & ความเป็นอยู่ที่ดี...
  • บทที่ 6 ความคิดที่ยอดเยี่ยมมาจากไหน – สิ่งที่ต้องทำเทียบกับสิ่งที่ต้องเป็น ความรู้สึกของการลื่นไหล ความกลัว ความเชี่ยวชาญและความล้มเหลว ความจริง ความงาม และสุนทรียภาพ...
  • บทที่ 7 สร้างความคิดที่ดีกว่าเดิม – สร้างความคิดที่ดีกว่า ทั้งหมดอยู่ที่ตัวคุณ สร้างความคิดที่ดีกว่า เป็นเรื่องเกี่ยวกับคนอื่นทั้งนั้น คุณลักษณะสร้างสรรค์ 8 ประการ

หนังสือเล่มหนึ่งจากหลายเล่มในนิทรรศการหนังสือแนะนำ “คิด คิด... คิดสร้างสรรค์” จัดแนะนำ ชั้น 1 สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดือน พฤศจิกายน - ธันวาคม 2563


LOCATIONCALL#STATUS
Central Library (5th Floor)153.35 ล461ล 2562CHECK SHELVES
Central Library (5th Floor)153.35 ล461ล 2562CHECK SHELVES

จะสร้างสรรค์ชีวิตต้องคิดนอกกรอบ (Out of our minds : the power of being creative)

จะสร้างสรรค์ชีวิตต้องคิดนอกกรอบ (Out of our minds : the power of being creative)

... จุดมุ่งหมายในการเขียนหนังสือเล่มนี้คือ ช่วยให้ทุกคนเข้าใจถึงขีดการมีความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง ไขข้อข้องใจว่าทำไมเราจึงสงสัยว่าตัวเองไม่มีความคิดสร้างสรรค์ กระตุ้นให้องค์กรต่าง ๆ เชื่อในพลังแห่งนวัตกรรม... (คำนำ)

หนังสือโดยผู้เขียน SIR KEN ROBINSON ผู้นำในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และทรัพยากรบุคคลระดับโลก หนังสือ International Best Seller แปลแล้ว 20 ภาษาทั่วโลก นำเสนอเนื้อหา นอกกรอบความคิด เผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลง ปัญหาเกี่ยวกับการศึกษา วิชาการลวงตา เข้าใจความคิดตัวเอง อยู่อย่างสร้างสรรค์ รู้สึกดีขึ้น คุณไม่ได้โดดเดี่ยว เป็นผู้นำที่สร้างสรรค์ และเรียนรู้ที่จะสร้างสรรค์

หนังสือเล่มหนึ่งจากหลายเล่มในนิทรรศการหนังสือแนะนำ “คิด คิด... คิดสร้างสรรค์” จัดแนะนำ ชั้น 1 สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดือน พฤศจิกายน - ธันวาคม 2563


LOCATIONCALL#STATUS
Arts LibraryBF408 ร285จCHECK SHELVES
Central Library (5th Floor)153.35 ร934จ 2561CHECK SHELVES
Central Library (5th Floor)153.35 ร934จ 2561CHECK SHELVES

Collection