โลกซึมเศร้า : คลายปมโรคแห่งยุคสมัย และทางเลือกใหม่ในการเยียวยา (Lost connections : uncovering real causes of depression - and the unexpected solutions)

โลกซึมเศร้า : คลายปมโรคแห่งยุคสมัย และทางเลือกใหม่ในการเยียวยา (Lost connections : uncovering real causes of depression - and the unexpected solutions)

โยฮันน์ ฮารี ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ เผชิญภาวะซึมเศร้าตั้งแต่วัยรุ่น และติดอยู่ในวังวนของโรคนี้ถึง 13 ปี จึงออกเดินทางเพื่อค้นหาคำตอบจากผู้เชี่ยวชาญทั่วโลก สืบสาวหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ ตลอดจนข้อมูลน่าเหลือเชื่อ เพื่อย้อนรอยสู่ต้นตอของภาวะซึมเศร้าที่ทำให้เราตัดขาดจากโลก ทั้งวิถีชีวิตแบบวัตถุนิยม งานที่ไร้ความหมาย หรือเหตุการณ์เลวร้ายในอดีต พร้อมนำเสนอหนทางเยียวยาแบบใหม่ที่เปรียบดังแสงสว่างปลายอุโมงค์ เพื่อนำทางเรากลับไปเชื่อมต่อกับโลกและผู้คนอีกครั้ง...

เนื้อหามี 3 ภาค ภาค 1 รอยร้าวในเรื่องเก่า อาทิ ไม้กายสิทธิ์ ไม่สมดุล ข้อยกเว้นของความโศกเศร้า ปักธงบนดวงจันทร์ ภาค 2 ตัดขาดความสัมพันธ์: สาเหตุเก้าประการของโรคซึมเศร้าและโรควิตกกังวล อาทิ สู่การตัดขาดจากงานที่มีความหมาย การตัดขาดจากผู้อื่น การตัดขาดจากค่านิยมที่มีความหมาย การตัดขาดจากเรื่องสะเทือนใจในวัยเด็ก การตัดขาดจากสถานะและการได้รับเกียรติ การตัดขาดจากธรรมชาติ การตัดขาดจากอนาคตที่สดใสหรือมั่นคง บทบาทที่แท้จริงของยีนส์ และการเปลี่ยนแปลงในสมอง และภาค 3 เชื่อมต่อความสัมพันธ์อีกครั้งหรือยาต้านซึมเศร้าอีกประเภทหนึ่ง อาทิ แม่วัว เราสร้างเมืองนี้มากับมือ การฟื้นฟูความสัมพันธ์: เชื่อมโยงกับผู้คน การจ่ายยาทางสังคม เชื่อมโยงกับงานที่มีความหมาย เชื่อมโยงกับค่านิยมที่มีความหมาย มุทิตาจิตและการเอาชนะการยึดมั่นในอัตตา การยอมรับและก้าวข้ามความเจ็บช้ำในวัยเด็ก กอบกู้อนาคต และบทสรุป

หนังสือเล่มหนึ่งจากหลายเล่มในนิทรรศการหนังสือแนะนำ “จะซึม จะเศร้า ก้าวผ่านได้” จัดแนะนำ ชั้น 1 สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดือน กันยายน 2563


LOCATIONCALL#STATUS
Central Library (4th Floor)616.8527 ฮ379ล 2563CHECK SHELVES
Central Library (4th Floor)616.8527 ฮ379ล 2563CHECK SHELVES

จะซึม จะเศร้า ก้าวผ่านได้

จะซึม จะเศร้า ก้าวผ่านได้

... หนังสือเล่มนี้ เขียนขึ้นเพื่อให้ผู้อ่านได้ทำความรู้จักกับ “อารมณ์เศร้า” ก่อนที่จะกลายเป็นภาวะซึมเศร้า สามารถรู้ทันและมีแนวทางสังเกตว่าตัวเองหรือคนใกล้ตัวกำลังจะเป็นโรคหรือกำลังตกอยู่ในภาวะซึมเศร้าแล้วหรือไม่ สามารถอ่านสัญญาณเตือน รู้จักแบบคัดกรอง รวมถึงเปิดโอกาสให้ตัวเองและช่วยเหลือคนใกล้ชิดที่มีภาวะซึมเศร้าให้เข้าสู่การดูลรักษา จนสามารถก้าวผ่านความเศร้า สู่เป้าหมายทางบวกในการใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าและมีความหมาย... (คำนำผู้เขียน)

เนื้อหาโดย แพทย์หญิงกุสุมาวดี คำเกลี้ยง ที่จะทำให้เรารู้จักภาวะซึมเศร้า รับมือด้วยความเข้าใจ และก้าวผ่านได้ อาทิ เซย์ไฮ! ทักทายซึมเศร้า จิตใจและร่างกาย... “รักนะ” S.O.S ช่วยด้วย... เรื่องเล่า คน(เคย)เศร้า1 Alarm สัญญาณบอกเหตุ รับฟังคือกำลังใจที่ดีที่สุด ซึมเศร้าในโลกไซเบอร์ เรื่องเล่า คน(เคย)เศร้า2 วัดอุณหภูมิใจ ห่างไกลซึมเศร้า พลังวิเศษในตัวเรา

หนังสือเล่มหนึ่งจากหลายเล่มในนิทรรศการหนังสือแนะนำ “จะซึม จะเศร้า ก้าวผ่านได้” จัดแนะนำ ชั้น 1 สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดือน กันยายน 2563


LOCATIONCALL#STATUS
Central Library (4th Floor)616.8527 ก739จ 2563CHECK SHELVES
Central Library (4th Floor)616.8527 ก739จ 2563CHECK SHELVES
Medicine LibraryWM171.5 ก739จ 2563CHECK SHELVES

ซึมเศร้า เล่าได้

ซึมเศร้า เล่าได้

... อารมณ์เศร้าเป็นอารมณ์หนึ่งของมนุษย์ พบได้ทั่วไป แต่โรคซึมเศร้าไม่ใช่ โรคซึมเศร้าเป็นโรค นอกเหนือจากการแนะนำให้ผู้อ่านได้รู้จัก “ตัวเศร้าซึม” แล้ว หนังสือยังแนะนำให้เราได้รู้จัก “ตัวหดหู่” พร้อมทั้งออกแบบตัวหดหู่พร้อมคำอธิบายความแตกต่างจากตัวซึมเศร้าเป็นข้อ ๆ บางข้อเขียนชัดเจนมาก เช่น ตัวเศร้าซึม ไม่ยอมให้คุณหลับ ตัวหดหู่นอนหลับเป็นเพื่อนคุณ หรือ ตัวหดหู่ทำให้คุณเศร้าเวลาทำงาน ตัวเศร้าซึมไม่ยอมให้คุณทำอะไรทั้งนั้น... (คำนิยม: นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์)

หนังสือที่ผู้เขียน หลินอวี๋เหิง และ ไป๋หลิน ได้นำเสนอเนื้อหา อาทิ อยู่ดี ๆ ก็เดินต่อไปไม่ไหว ที่แท้ก็โดนตัวเศร้าซึมโจมตีเข้าให้แล้ว บนเส้นทางการเยียวยารักษา โรงเตี๊ยมสำหรับการรักษา สถานีโรคทางจิตเวช หุบเขาที่อยู่ด้านข้างทางเดินชีวิต ปลายทางสุดท้าย เราจะก้าวข้ามมันไปด้วยกัน

หนังสือเล่มหนึ่งจากหลายเล่มในนิทรรศการหนังสือแนะนำ “จะซึม จะเศร้า ก้าวผ่านได้” จัดแนะนำ ชั้น 1 สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดือน กันยายน 2563


LOCATIONCALL#STATUS
Central Library (4th Floor)616.8527 ห334ซ 2562CHECK SHELVES
Central Library (4th Floor)616.8527 ห334ซ 2562CHECK SHELVES

โรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้า

… ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามิใช่คนอ่อนแอ คิดมาก คิดไปเอง ไม่ปล่อยวาง หรือเป็นคนที่ยอมแพ้ต่อชีวิต ความจริงคือเขาป่วยด้วยโรคชนิดหนึ่งจริง ๆ เหมือนคนทุกคนที่อาจจะป่วยด้วยโรคภัยไข้เจ็บบางอย่าง... (คำนำผู้เขียน)

หนังสือโดยผู้เขียน นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ เนื้อหาในเล่ม มี 40 บท อาทิ โรคซึมเศร้า อย่างไรจึงเรียกว่าโรค บทบาทของผู้ป่วย โรคซึมเศร้าเป็นโรคทางจิตเวช เมื่อไรจึงควรรู้ตัวว่าเราเป็นโรคซึมเศร้า เป็นหรือไม่เป็นกันแน่ ตรวจสภาพจิต สัมพัทธภาพ วัดได้หรือวัดไม่ได้ นอนไม่หลับ สมรรถนะที่ลดลง สมรรถนะทางเพศ ฆ่าตัวตาย การฆ่าตัวตายที่สมเหตุผล? ความรุนแรงของการฆ่าตัวตาย การรักษา จิตบำบัด จริยธรรมวิชาชีพและความสัมพันธ์เชิงรักษา ขั้นตอนของจิตบำบัด วิธีหลากหลายของจิตบำบัด ความสูญเสีย เศร้าได้นานเท่าไร สาเหตุของโรคซึมเศร้า สาเหตุของโรคทางชีววิทยา สาเหตุทางจิตวิทยา สาเหตุทางสังคมวิทยา สาเหตุทางจิตวิเคราะห์ องค์รวม โรคซึมเศร้าที่มีอาการทางจิตแทรกซ้อน โรคซึมเศร้าหลังคลอด ยาปฏิโทมนัส ความร่วมมือในการรักษา อนาคตของโรคซึมเศร้า หายขาดได้หรือไม่ สุขภาพจิตดี ทักษะชีวิต ผู้รักษาที่ดี โรบิน วิลเลี่ยมส์

หนังสือเล่มหนึ่งจากหลายเล่มในนิทรรศการหนังสือแนะนำ “จะซึม จะเศร้า ก้าวผ่านได้” จัดแนะนำ ชั้น 1 สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดือน กันยายน 2563


LOCATIONCALL#STATUS
Central Library (4th Floor)616.8527 ป421ร 2560CHECK SHELVES
Central Library (4th Floor)616.8527 ป421ร 2560CHECK SHELVES

Depression diary #มันไม่ได้เศร้าอย่างที่คิดหรอกนะ

Depression diary #มันไม่ได้เศร้าอย่างที่คิดหรอกนะ

... หนังสือเล่มนี้จะพาคุณไปรู้จักกับโรคซึมเศร้ามากขึ้นกว่าเดิม ผู้เขียนได้ถ่ายทอดเรื่องราวของคนที่เป็นโรคซึมเศร้าตั้งแต่อาการแรกเริ่มไปจนถึงวิธีการรักษาเพื่อให้เราทุกคนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข เต็มไปด้วยความรักความเข้าใจและความเห็นอกเห็นใจอย่างที่มนุษย์พึงมีต่อกัน... (คำนำสำนักพิมพ์)

หนังสือเล่มนี้ ผู้เขียนนำเสนอเนื้อหา อาทิ ความรู้สึกจากใจพ่อคนหนึ่ง ก่อนจะกลายร่าง ดอกไม้บนหัวนามว่า Depression เมื่อเรากลายเป็นเอเลี่ยน ต้องเปิดเผยตัวจริงเพราะมันจำเป็น คุณพ่อ คุณแม่... หนูเป็นเอเลี่ยน และแล้วก็เข้าใจกัน การรักษาและกำจัดดอกไม้แห่งความเศร้าอย่างจริงจัง สะกดจิต... เรื่องจริงดั่งนิยาย เอเลี่ยนระบบสั่น แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าเรามีเมล็ดพันธุ์แห่งความเศร้าที่กำลังเจริญเติบโต เมื่อเอเลี่ยนอยากไปจากโรค การฆ่าตัวตายอีกครั้ง(ที่ไม่สำเร็จ) จะพาเอเลี่ยนกลับสู่โลก(แห่งความสุข)ได้อย่างไร ถ้ารู้ว่าเพื่อนเป็นเอเลี่ยนแต่ไม่ยอมไปรักษา ควรทำอย่างไร เมื่อเอเลี่ยนโกอินเตอร์ จัดการตัวเองอย่างไรเมื่อโรคกำเริบแต่งานก็ต้องส่ง เรื่องของหัวใจในวันที่อ่อนแอยกกำลังสอง ไอดอลของเอเลี่ยน เสียงร้องเรียกจากโลกแห่งความเศร้า คุยกับ Mentor ของเอเลี่ยน ตัวช่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ จากเอเลี่ยนถึงเอเลี่ยน

หนังสือเล่มหนึ่งจากหลายเล่มในนิทรรศการหนังสือแนะนำ “จะซึม จะเศร้า ก้าวผ่านได้” จัดแนะนำ ชั้น 1 สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดือน กันยายน 2563


LOCATIONCALL#STATUS
Central Library (4th Floor)616.8527 ม872ด 2560CHECK SHELVES
Central Library (4th Floor)616.8527 ม872ด 2560CHECK SHELVES

ภาษา การสื่อสาร และโรคซึมเศร้า : การสำรวจเบื้องต้นเพื่อความเข้าใจโรคซึมเศร้าและผู้มีภาวะซึมเศร้าในสังคมไทย

ภาษา การสื่อสาร และโรคซึมเศร้า : การสำรวจเบื้องต้นเพื่อความเข้าใจโรคซึมเศร้าและผู้มีภาวะซึมเศร้าในสังคมไทย

โครงการวิจัยนี้ ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ประจำปี พ.ศ. 2559 เป็นการวิจัยเชิงบูรณาการระหว่างวิจัยเชิงปริมาณกับวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยข้ามสาขาระหว่างภาษา การสื่อสาร และจิตวิทยา วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเชิงสำรวจอุบัติการณ์ภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยไทย กรณีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสำรวจภาษาที่ใช้สื่อสารเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าในวาทกรรมสาธารณะและวาทกรรมของนักศึกษาที่มีภาวะซึมเศร้า เพื่อค้นหาลักษณะทางภาษาที่บ่งชี้สัญญาณของโรคซึมเศร้า สำหรับเป็นแนวทางในการพัฒนาเครื่องมือสื่อสารโรคซึมเศร้าที่เหมาะสมต่อไป วิธีวิจัยใช้แบบสอบถาม ได้แก่ CES-D แบบคัดกรองโรคซึมเศร้า แบบประเมินโรคซึมเศร้า ใช้ข้อมูลการบันทึกชีวิตประจำวันต่อเนื่องเป็นเวลา 2 เดือน และการสัมภาษณ์ ผลการศึกษาพบว่า ด้านอุบัติการณ์ภาวะซึมเศร้าของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีอัตราร้อยละ 23.3 ซึ่งสูงกวาอัตราร้อยละ 4 ของประชากรไทยที่เข้าข่ายภาวะซึมเศร้าตามข้อมูลขององค์การอนามัยโลกปี ค.ศ. 2017 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 และพบว่านักศึกษาเพศชายมีอัตราเข้าข่ายภาวะซึมเศร้ามากกว่าเพศหญิงซึ่งเป็นอุบัติการณ์ที่ต่างจากที่อื่น ด้านภาษาซึมเศร้าของนักศึกษา พบว่ามีลักษณะเด่นที่การใช้คำบ่งชี้บุคคลที่เป็นผู้พูดหรือสรรพนามบุรุษที่ 1 ที่เน้นการกผู้รับซึ่งบ่งชี้ว่าผู้พูดเป็นผู้รับสภาพและเป็นผู้ถูกกระทำ การใช้ศัพท์ที่สื่ออารมณ์ความรู้สึกทางลบ... ซึ่งสอดคล้องกับวาทกรรมการแพทย์ที่เผยแพร่ในสาธารณะ... ด้านการวิเคราะห์เรื่องเล่า พบว่ามีแบบเรื่องของเรื่องเล่าโรคซึมเศร้าที่แสดงให้เห็นบริบทชีวิตของนักศึกษาที่ส่วนใหญ่มีประสบการณ์เป็นโรคซึมเศร้าก่อนที่จะเข้ามหาวิทยาลัย ปมเกี่ยวกับคนในครอบครัว เรื่องเพื่อนและแฟน เรื่องการเรียน จนทำให้เป็นโรคซึมเศร้า เมื่อเข้าเรียนมหาวิทยาลัยก็ยังต้องเข้ารับการรักษาโรคซึมเศร้าควบคู่ไปด้วย ส่วนวาทกรรมในสื่อสาธารณะ พบว่ามีการสื่อสารที่ทำให้เห็นว่าการสื่อความหมายเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าต่างมุมมองกัน ระหว่างมุมมองทางการแพทย์และวาทกรรมสื่อมวลชน... การศึกษาวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่า การสื่อสารโรคซึมเศร้าในสังคมไทยควรเน้นการให้ข้อมูลเชิงประสบการณ์ที่หลากหลาย และควรให้ความรู้เชิงมิติทางสังคมที่จะทำให้เข้าใจบริบทชีวิตที่เป็นปัจจัยไปสู่การเป็นโรคซึมเศร้า นอกจากนี้ การดูแลปัญหาสุขภาพจิตของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยไทยควรที่จะต้องพิจารณาและตระหนักถึงความเข้าใจเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าในบริบทครอบครัวและบริบทเฉพาะของสถาบันการศึกษาด้วย เพื่อให้มีระบบการดูแลและให้ความรู้ด้านสุขภาพจิตแก่นักศึกษาเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืนต่อไป

หนังสือเล่มหนึ่งจากหลายเล่มในนิทรรศการหนังสือแนะนำ “จะซึม จะเศร้า ก้าวผ่านได้” จัดแนะนำ ชั้น 1 สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดือน กันยายน 2563


LOCATIONCALL#STATUS
Arts LibraryR118 จ215ภCHECK SHELVES
Arts LibraryR118 จ215ภCHECK SHELVES
Central Library (4th Floor)616.8527 จ285ภ 2563CHECK SHELVES
Central Library (4th Floor)616.8527 จ285ภ 2563CHECK SHELVES

Collection