สาเหตุที่ทำให้เราดูแก่กว่าวัย เกิดจากกิจกรรมการเร่งกระบวนการ "แก่" ภายในเซลล์ของแต่ละคนแตกต่างกัน และวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ได้ค้นพบว่า ส่วนที่เป็นตัวตัดสินว่า เราจะแก่ง่ายและตายเร็วขึ้นหรือไม่นั้น คือส่วนที่อยู่บริเวณปลายของโครโมโซม ซึ่งเรียกว่า เทโลเมียร์ (คำนำ)
หนังสือเล่มนี้ ผู้เขียน เอลิซาเบท แบล็กเบิร์น และ เอลิซซา เอเพล เจ้าของรางวัลโนเบล ถ่ายทอดวิธีดูแลสุขภาพลึกลงไปถึงระดับเซลล์ รู้จักว่าเทโลเมียร์คืออะไร มีความสำคัญมากเพียงใดและสำคัญมากอย่างไรต่อความแก่กว่าวัยของเรา ทราบว่ากระบวนการแก่ชราในระดับเซลล์สามารถเปลี่ยนแปลงได้ สามารถชะลอกระบวนการนี้ได้ด้วยตัวเราเอง เพื่อสุขภาพแข็งแรง แก่ช้า และอายุยืนยาวอย่างมีคุณภาพ ผ่านเนื้อหา เรื่องราวของสองเทโลเมียร์ เทโลเมียร์เส้นทางสู่ชีวิตที่อ่อนเยาว์ขึ้น เซลล์ฟังความคิดของคุณอยู่ ช่วยร่างกายของคุณปกป้องเซลล์กัน และ จากภายนอกสู่ภายใน โลกแห่งสังคมที่หล่อหลอมเทโลเมียร์ของคุณ
หนังสือเล่มหนึ่งจากหลายเล่มในนิทรรศการหนังสือแนะนำ “สุขภาพดีปีใหม่” จัดแนะนำ ชั้น 1 สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดือน กุมภาพันธ์ 2563
LOCATION | CALL# | STATUS |
---|---|---|
Central Library (4th Floor) | 613 บ896ท 2562 | CHECK SHELVES |
Central Library (4th Floor) | 613 บ896ท 2562 | CHECK SHELVES |
นักจิตวิทยาค้นพบว่า ความสามารถในการตัดสินใจของมนุษย์มีขีดจำกัดสำหรับแต่ละวัน กล่าวคือ ทุกครั้งที่เราตัดสินใจทำสิ่งต่าง ๆ เช่น เลือกเสื้อผ้าที่จะใส่ หรือเลือกคำพูดที่จะใช้ตอบไลน์ สมองของเราจะอ่อนล้าลงเรื่อย ๆ และเมื่อเราใช้ความสามารถในการตัดสินใจจนถึงขีดจำกัดสำหรับหนึ่งวันแล้ว หลังจากนั้นเราจะไม่ได้ตัดสินใจด้วยเหตุผล แต่จะตัดสินใจด้วยอารมณ์แทน ผลที่ตามมาคือ เราจะซื้อของที่ไม่จำเป็น กินดื่มไม่บันยะบันยังหรือหงุดหงิดจนพาลหาเรื่องคนอื่น นี่คือเหตุผลที่ทำให้เราอดพูดไม่ได้ว่า "เฮ้อ วันนี้เหนื่อยชะมัดเลย" (บทนำ)
ผู้เขียนหนังสือเรื่องนี้ อิชิกาวะ โอชิกิ ได้แนะนำวิธีการต่าง ๆ บนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัย เพื่อฝึกสมองให้กระปรี้กระเปร่า ทำงานได้เต็มร้อย ไม่เหนื่อย ผ่านเนื้อหา การทำสมาธิวันละ 5 นาทีจะเปลี่ยนชีวิต หัวใจสำคัญของการจัดเวลาคือการนอน เทคนิคการจัดระเบียบร่างกายที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน คนที่รู้วิธีควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ วิธีใช้ชีวิตใน 1 วันที่ช่วยให้สมองไม่เหนื่อยล้า
หนังสือเล่มหนึ่งจากหลายเล่มในนิทรรศการหนังสือแนะนำ “สุขภาพดีปีใหม่” จัดแนะนำ ชั้น 1 สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดือน กุมภาพันธ์ 2563
LOCATION | CALL# | STATUS |
---|---|---|
Central Library (4th Floor) | 612.82 อ715ฝ 2562 | CHECK SHELVES |
Central Library (4th Floor) | 612.82 อ715ฝ 2562 | CHECK SHELVES |
ผลงานเขียนโดยนายแพทย์ โคะบะยะชิ ฮิโระยุกิ แพทย์ชื่อดังชาวญี่ปุ่น นำเสนอเนื้อหาความรู้ ทุกอย่างสามารถอธิบายได้ด้วยระบบประสาทอัตโนมัติ อาทิ การกระตุ้นให้ระบบประสาทพาราซิมพาเทติกทำงานมากขึ้นเป็นวิธีรักษาสุขภาพที่ดีที่สุด การเดินส่งผลดีต่อสุขภาพมากกว่าการวิ่งจ๊อกกิ้ง ค่อย ๆ เคลื่อนไหวร่างกายแล้วจะสุขภาพดี... สุขภาพจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับความสมดุลของระบบประสาทอัตโนมัติ อาทิ ระบบประสาทซิมพาเทติกเปรียบเสมือนคันเร่ง ส่วนระบบประสาทพาราซิมพาเทติกเปรียบเสมือนเบรก สาเหตุที่ภูมิคุ้มกันต่ำก็เพราะระบบประสาทอัตโนมัติเสียความสมดุล ทำไมแค่นวดฝ่าเท้าก็ทำให้สภาพร่างกายดีขึ้นได้ วิธีปรับร่างกายให้อยู่ในสภาพวงจรบวก... พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ช่วยให้ระบบประสาทพาราซิมพาเทติกทำงานมากขึ้น อาทิ ไม่ว่าจะทำอะไรก็ให้เผื่อเวลาไว้ 30 นาที การนอนหลับไม่เพียงพอเป็นศัตรูตัวฉกาจของระบบประสาทอัตโนมัติ กินอาหารให้ครบ 3 มื้อเพื่อกระตุ้นลำไส้ การเดินเล่นอย่างน้อย 30 นาทีหลังมื้อเย็นเป็นการออกกำลังกายที่ดีที่สุด การหายใจช่วยเปลี่ยนสภาพร่างกายได้ในพริบตา... และ คุณภาพชีวิตดีขึ้นได้ด้วยระบบประสาทอัตโนมัติ อาทิ การเขียนบันทึกประจำวันช่วยปรับสมดุลของระบบประสาทอัตโนมัติ หากควบคุมระบบประสาทอัตโนมัติได้ก็จะควบคุมชีวิตของตัวเองได้เช่นกัน...
หนังสือเล่มหนึ่งจากหลายเล่มในนิทรรศการหนังสือแนะนำ “สุขภาพดีปีใหม่” จัดแนะนำ ชั้น 1 สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดือน กุมภาพันธ์ 2563
LOCATION | CALL# | STATUS |
---|---|---|
Medicine Library | WL600 ค952ท 2562 | CHECK SHELVES |
Central Library (4th Floor) | 612.82 ค979ท 2562 | CHECK SHELVES |
Central Library (4th Floor) | 612.82 ค979ท 2562 | CHECK SHELVES |
หนังสือในชุด กินดี กรีนดี โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ชวนผู้อ่านให้เริ่มต้นง่าย ๆ ด้วยการเอาใจใส่รายละเอียดของชีวิต ปรับชีวิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อสุขภาพดี ตั้งแต่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเอง มาใช้วิถีชีวิตออร์แกนิก วิถีชีวิตที่เรียบง่าย เลือกใช้ของใช้ในชีวิตประจำวันที่เป็นมิตรต่อโลกมากขึ้น กลับไปเชื่อมโยงตัวเรากับธรรมชาติ ลดการใช้พลาสติก ลดการใช้สารเคมีซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ใช้สินค้าชุมชนและเกษตรอินทรีย์ และ แรงบันดาลใจจากคนธรรมดา คนเล็ก ๆ ที่เปลี่ยนวิถีชีวิตตนเองเป็นแบบกรีนดีอย่างยั่งยืน
หนังสือเล่มหนึ่งจากหลายเล่มในนิทรรศการหนังสือแนะนำ “สุขภาพดีปีใหม่” จัดแนะนำ ชั้น 1 สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดือน กุมภาพันธ์ 2563
LOCATION | CALL# | STATUS |
---|---|---|
Central Library (4th Floor) | 613 ค695 2562 | CHECK SHELVES |
Central Library (4th Floor) | 613 ค695 2562 | CHECK SHELVES |
อิคิไก (Ikigai) คำ ๆ นี้ เป็นแนวคิดของชาวญี่ปุ่น ซึ่งหมายถึง ความสุขอันเกิดจากการมีอะไรให้ทำตลอดเวลา และสิ่งนี้เป็นเหตุผลหนึ่งที่อธิบายว่าเหตุใดคนญี่ปุ่นจึงมีอายุยืน โดยเฉพาะประชากรบนเกาะโอกินะวะ (บทนำ)
ผลงานที่ได้รับการแปลถึง 42 ภาษา นำเสนอเนื้อหา อิคิไก... ถ้อยคำอันเป็นปริศนา หลักปรัชญาอิคิไก: ศิลปะแห่งการชราภาพอย่างอ่อนเยาว์อยู่เสมอ เคล็ดลับต้านชรา: สิ่งเล็กน้อยในชีวิตประจำวันที่นำไปสู่ชีวิตอันยืนยาวและเป็นสุข จากโลโกเทอราปีถึงอิคิไก: หาจุดมุ่งหมายของชีวิตให้เจอเพื่อชีวิตอันยืนยาวและเป็นสุข มีสมาธิกับทุกสิ่งที่ทำ: วิธีเปลี่ยนงานและเวลาว่างเป็นพื้นที่แห่งการเติบโต ปรมาจารย์ด้านอายุยืน: คำบอกเล่าจากผูมีอายุยืนที่สุดทั้งในโลกตะวันออกและตะวันตก แรงบันดาลใจจากศตวรรษิกชน: ประเพณีและคติพจน์ประจำใจของหมู่บ้านโอะกิมิเพื่อการมีชีวิตอันยืนยาวและเปี่ยมสุข อาหารแบบอิคิไก: บรรดาผู้อายุยืนที่สุดในโลกกินและดื่มอะไรกัน การเคลื่อนไหวร่างกายเบา ๆ ทำให้อายุยืน: การออกกำลังกายของโลกตะวันออกส่งผลดีต่อสุขภาพและการมีอายุยืน มีหัวใจที่ไม่ยอมแพ้และวะบิซะบิ: วิธีเผชิญปัญหาและความเปลี่ยนแปลงในชีวิตโดยไม่แก่ชราเพราะเครียดและกังวล และ อิคิไก ศิลปะแห่งการใช้ชีวิต
หนังสือเล่มหนึ่งจากหลายเล่มในนิทรรศการหนังสือแนะนำ “สุขภาพดีปีใหม่” จัดแนะนำ ชั้น 1 สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดือน กุมภาพันธ์ 2563
LOCATION | CALL# | STATUS |
---|---|---|
Central Library (4th Floor) | 613 ก453อ 2561 | DUE 15-10-23 |
Central Library (4th Floor) | 613 ก453อ 2561 | CHECK SHELVES |
Medicine Library | WM460.5.R3 ก453อ 2561 | CHECK SHELVES |
การ์ตูนแพทย์แผนจีนโดย Lazy Bunny นำเสนอการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนจีน ได้แก่ มีเรื่องอะไรที่เราควรรู้กันบ้าง อาทิ เราใช้สุขภาพแลกอะไรกลับมากันแน่ ความสนใจทำให้เราป่วย อะไรทำให้เรารักษาแล้วไม่ได้ผล... โรคที่พบบ่อย ๆ โรคไหนบ้างที่เราเอาอยู่ อาทิ เธอรู้ไหมว่าสีของลิ้นมีความหมายอย่างไร ข้อเท็จจริงของการไอและคู่มือรักษา คนวัยไหนบ้างท้องผูก อดีตและปัจจุบันของไมเกรน ผู้หญิงก็ควรใส่ใจตัวเองกันสักนิด อาทิ เต้านมโตแค่นวด ๆ ก็หายได้ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเนื้องอกในมดลูก... พ่อแม่คือหมอที่ดีที่สุดของลูก อาทิ ยาจีนที่รักษาอาการไข้หวัดในเด็ก โรคมือเท้าปากในเด็ก โรคท้องร่วงในเด็ก... และ กรณีตัวอย่างโรคที่พบบ่อย ๆ ในบ้านและการรักษา
หนังสือเล่มหนึ่งจากหลายเล่มในนิทรรศการหนังสือแนะนำ “สุขภาพดีปีใหม่” จัดแนะนำ ชั้น 1 สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดือน กุมภาพันธ์ 2563
LOCATION | CALL# | STATUS |
---|---|---|
Central Library (4th Floor) | 610.951 ล762ด 2562 | CHECK SHELVES |
Central Library (4th Floor) | 610.951 ล762ด 2562 | DUE 30-09-23 |