ดุษฎีนิพนธ์การประพันธ์เพลง: มิติเสียงสังเคราะห์แห่งวงซิมโฟนี

ดุษฎีนิพนธ์การประพันธ์เพลง: มิติเสียงสังเคราะห์แห่งวงซิมโฟนี

(รางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2563: รางวัลวิทยานิพนธ์ระดับดีเด่น)

ผลงานวิจัยสร้างสรรค์ด้านการประพันธ์เพลง ประกอบด้วยบทประพันธ์เพลงสองบทคือ “Ripples” สำหรับวงดนตรีขนาด 7 คน และ “Fertile” สำหรับวงซิมโฟนีออร์เคสตรา ขนาด 86 คน โดยมีขนาดย่อสำหรับวงเชมเบอร์ออร์เคสตราขนาด 19 คนอีกชิ้นหนึ่ง เป็นบทประพันธ์เพลงที่นำเสนอมิติสีสันเสียงที่หลากหลาย สังเคราะห์เสียงโดยใช้เครื่องดนตรีในวงออร์เคสตรา บทประพันธ์เพลงทั้งสองบทนี้เป็นนวัตกรรมทางเสียงใหม่ในแง่ของการนำเสนอดนตรีที่มีมิติความลึก ความหนาแน่นของพื้นผิวเสียง เทคนิคพิเศษของเครื่องดนตรี นอกจากนี้ยังผสมผสานคุณลักษณะของเสียงแบบตะวันออก ดุษฎีนิพนธ์การประพันธ์เพลงชุดนี้ นำลักษณะสำคัญในดนตรีตะวันออกคือ ชีพจรความต่อเนื่องทางเสียงในดนตรีไทย โน้ตสะบัด โน้ตลากยาว เอื้อน รวมทั้งการบรรเลงที่ให้คุณลักษณะของเสียงคล้ายคลึงกับการด้นสด ลูกล้อลูกขัด รวมทั้งจังหวะซับซ้อนต่าง ๆ บทประพันธ์เพลง Ripples นี้ได้นำออกแสดงเผยแพร่โดยวงดนตรีในระดับนานาชาติ กลุ่ม Friends of MATA Ensemble ในเทศกาลดนตรีร่วมสมัยนานาชาติ MATA festival 2017 ณ กรุงนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา และแสดงอีกครั้งในรายการเดียวกับบทประพันธ์เพลง “Fertile” ขนาดย่อสำหรับ 19 คน โดยวงดุริยางค์ซิมโฟนีกรุงเทพ ที่หอแสดงดนตรี ดร.ถาวร พรประภา สถาบันดนตรียามาฮ่า กรุงเทพ ผลงานวิจัยนี้ได้รับการตีพิมพ์โดยวารสารดนตรีมหาวิทยาลัยรังสิต นอกจากนี้ทั้งสองบทประพันธ์เพลงนี้ ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่โดยสำนักพิมพ์โน้ตเพลงร่วมสมัยประเทศฝรั่งเศส Babelscores (จากบทคัดย่อ)

วิทยานิพนธ์ฉบับออนไลน์ http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61464


LOCATIONCALL#STATUS
Fine & Applied Arts Library : DFA ThesisR ว.พ. ส729ด 2561LIB USE ONLY

กระบวนการเปลี่ยนแปลงประโยชน์ใช้สอยในตึกแถว: กรณีศึกษาตึกแถวบริเวณท่าเตียน กรุงเทพฯ

กระบวนการเปลี่ยนแปลงประโยชน์ใช้สอยในตึกแถว: กรณีศึกษาตึกแถวบริเวณท่าเตียน กรุงเทพฯ

(รางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2563: รางวัลวิทยานิพนธ์ระดับดีมาก)

ย่านท่าเตียนซึ่งเป็นตัวแทนของย่านการค้าขายที่มีการตั้งรกรากมาตั้งแต่การก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ และมีการเปลี่ยนแปลงการใช้สอยมาอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นตัวแทนของกรณีศึกษาที่แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงการใช้สอยของอาคารตึกแถว ที่เป็นไปตามความต้องการของชีวิตในบริบทเมือง กรอบทฤษฎีของการวิจัยนี้ ได้รับการพัฒนามาจากการทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ตอบรับกับการสร้างถิ่นที่ในสภาวะของการเปลี่ยนแปลง โดยการผสานของกระบวนการปรับปรุงการใช้สอยของอาคารประวัติศาสตร์และการสร้างความหมายในกระบวนการการสร้างถิ่นที่ การเก็บข้อมูลของโครงการวิจัยครอบคลุมการสำรวจตึกแถว การสังเกตพฤติกรรมการใช้สอย และการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างผู้ที่อาศัย สัญจร และใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่ท่าเตียน ปัจจัยที่ส่งผลต่อกระบวนการการเปลี่ยนแปลงการใช้สอยจะวิเคราะห์และสังเคราะห์ จากทฤษฎีความผูกพัน ทฤษฎีการสร้างถิ่นที่ ทฤษฎีพฤติกรรมศาสตร์เมือง และทฤษฎีการปรับตัว เพื่อทำความเข้าใจปัจจัยที่จะส่งผลต่อแนวคิด วิธีการ กระบวนการ ในกรอบการเปลี่ยนแปลงของถิ่นที่ ทั้งทางด้านกายภาพและความหมาย ผลการศึกษาสรุปได้ว่า กระบวนการการเปลี่ยนแปลงการใช้สอยไม่ได้ทำให้ความหมายของสถานที่เสื่อมไป แต่ความหมายยังคงอยู่ในรูปของการสร้างประโยชน์ใหม่ ด้วยการสร้างกิจกรรมและประสบการณ์ร่วมให้ดำรงไว้ซึ่งความเป็นถิ่นที่ โดยผ่านกระบวนการสร้างสรรค์อัตลักษณ์ด้านกายภาพและความหมาย (จากบทคัดย่อ)

วิทยานิพนธ์ฉบับออนไลน์ http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58238


ดุษฎีนิพนธ์การประพันธ์เพลง: หลวิชัย คาวี เดอะ มิวสิคัล

ดุษฎีนิพนธ์การประพันธ์เพลง: หลวิชัย คาวี เดอะ มิวสิคัล

(รางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2563: รางวัลวิทยานิพนธ์ระดับดี)

บทประพันธ์ หลวิชัย คาวี เดอะ มิวสิคัล เป็นบทประพันธ์ที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นจากการศึกษาและตีความนิทานพื้นบ้านเรื่อง หลวิชัย คาวี โดยนำเสนอในรูปแบบของละครเพลงซึ่งใช้อารมณ์และความรู้สึกของตัวละครรวมถึงบรรยากาศของฉากแต่ละฉากในการกำหนดกรอบและแนวทางในการประพันธ์และเรียบเรียงดนตรี ความรักหลากหลายรูปแบบ เช่น พี่กับน้อง ชายกับหญิง สัตว์กับสัตว์ รวมถึงความขัดแย้ง ของตัวละครต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ในนิทานพื้นบ้านเรื่องนี้เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้บทเพลงมีความหลากหลายทางอารมณ์ ตัวละครหลักในบทประพันธ์นี้จะมีทำนองหลักเป็นของตนเองเพื่อแสดงความเป็นเอกลักษณ์และช่วยให้ผู้ฟังสามารถติดตามเรื่องราวและการนำเสนอของตัวละครแต่ละตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยทำนองหลักแต่ละทำนองจะถูกพัฒนาด้วย วิธีต่าง ๆ เช่น การขยายส่วนจังหวะ การย่อส่วนจังหวะ เพื่อให้เหมาะสมกับเหตุการณ์ต่าง ๆ บทประพันธ์นี้ประกอบด้วยบทเพลงบรรเลงและบทเพลงร้องรวมทั้งสิ้น 14 บทเพลง ความยาวประมาณ 50 นาที ผู้วิจัยมีความตั้งใจที่จะนำเสนอนิทานพื้นบ้านของไทยเรื่องนี้โดยใช้ดนตรีตะวันตกซึ่งเปรียบดั่งภาษาสากลเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดเรื่องราวให้กับผู้ฟังทุกชนชาติ และเพื่อส่งเสริมวรรณคดีของไทยให้เข้าสู่การยอมรับในระดับนานาชาติ (จากบทคัดย่อ)

วิทยานิพนธ์ฉบับออนไลน์ http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60051


LOCATIONCALL#STATUS
Fine & Applied Arts Library : DFA ThesisR ว.พ. พ133ด 2560LIB USE ONLY

นวัตกรรมสิ่งทอจากเส้นใยดาหลาสู่ผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไตล์โดยใช้ทฤษฎีความยั่งยืน

นวัตกรรมสิ่งทอจากเส้นใยดาหลาสู่ผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไตล์โดยใช้ทฤษฎีความยั่งยืน

(รางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2563: รางวัลวิทยานิพนธ์ระดับดี)

วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อ ศึกษาแนวทางการเพิ่มมูลค่าขยะทางการเกษตรโดยการพัฒนาเส้นใยจากต้นดาหลา ศึกษากระบวนการทดลองสกัดสีจากดอกดาหลา และ การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไตล์ที่เหมาะสมกับสิ่งทอเส้นใยดาหลา โดยการประเมินผลความเหมาะสมของเส้นใย รูปแบบผลิตภัณฑ์จากกลุ่มผู้เชียวชาญทางด้านสิ่งทอ ทางด้านการออกแบบ นักออกแบบ กลุ่มประกอบการ และกลุ่มเป้าหมาย จากการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาเส้นใยธรรมชาติและวัตถุในการแปรรูปเส้นใย ผู้วิจัยต้องการพัฒนาเส้นใยจากต้นดาหลาซึ่งถือเป็นส่วนเหลือทิ้งจากการตัดดอก พร้อมทั้งหาแนวทางการสกัดสีย้อมจากส่วนดอกดาหลา เพื่อนำไปย้อมสีเส้นด้ายทอต่าง ๆ เช่น ไหม ฝ้าย เส้นด้ายดาหลา เป็นต้น ส่วนหนึ่งของแนวคิดการออกแบบและพัฒนาเพื่อความยั่งยืน“Sustainable Design” และแนวทางการใช้ทุกส่วนอย่างคุ้มค่า จนขยะเหลือศูนย์ “Zero Waste” อันได้แก่ กระดาษจากเศษดอกหลังจากสกัดสี หรือนำมาแปรรูปเป็นอาหาร อาทิเช่น กากดอกดาหลากวน น้ำพริกแห้งดาหลา ส่วนสำคัญในการวิจัยครั้งนี้ เพื่อก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์สิ่งทอและผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไตล์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งประกอบด้วยเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย กระเป๋าและรองเท้า เป็นต้น (จากบทคัดย่อ)

วิทยานิพนธ์ฉบับออนไลน์ http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61463


LOCATIONCALL#STATUS
Fine & Applied Arts Library : DFA ThesisR ว.พ. น352น 2561LIB USE ONLY

นวัตกรรมการออกแบบเครื่องประดับเคลื่อนไหวจากแนวคิดทุนวัฒนธรรมไทยที่เคลื่อนไหวได้

นวัตกรรมการออกแบบเครื่องประดับเคลื่อนไหวจากแนวคิดทุนวัฒนธรรมไทยที่เคลื่อนไหวได้

(รางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2563: รางวัลวิทยานิพนธ์ระดับดี)

ผู้วิจัยเล็งเห็นโอกาสและความเป็นไปได้ในการสร้างสรรค์เครื่องประดับ โดยใช้แนวความคิดทางทุนวัฒนธรรมมาผสมผสานกับแนวความคิดศิลปะคิเนติกและสร้างสรรค์เป็นเครื่องประดับร่วมสมัยเพื่อให้เกิดความแปลกใหม่ในท้องตลาด อีกทั้งเป็นการพัฒนาสร้างสรรค์และผลักดันงานออกแบบจากการใช้ทุนวัฒนธรรมขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง ผลการวิจัยพบว่า การสร้างสรรค์ศิลปะการออกแบบเครื่องประดับโดยใช้ทุนวัฒนธรรมประเภทหุ่นละครไทย ทำให้เกิดเครื่องประดับที่สามารถดึงเอาเอกลักษณ์ของหุ่นละครไทยทั้งทางด้านโครงสร้างกลไกการเคลื่อนไหวภายในรวมไปถึงรูปร่างลักษณะภายนอก นำมาผสมผสานกับแนวความคิดทางด้านการเคลื่อนไหว เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมการออกแบบเครื่องประดับที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นในเชิงพาณิชย์ และพบกรรมวิธีออกแบบเครื่องประดับที่สร้างสรรค์แปลกใหม่ โดยตัวเครื่องประดับสามารถขยับเคลื่อนไหวรวมทั้งถอดประกอบปรับเปลี่ยนประเภทการใช้งานได้หลากหลายตามแต่ความต้องการของผู้สวมใส่ การสร้างนวัตกรรมการออกแบบเครื่องประดับเคลื่อนไหวจากแนวคิดทุนวัฒนธรรมเป็นการสร้างความสนใจให้กับกลุ่มคนรุ่นใหม่ เพื่อให้ตระหนักในคุณค่าของวัฒนธรรมไทยอันเป็นเอกลักษณ์หนึ่งเดียวของโลกและหันกลับมาสนใจงานออกแบบเครื่องประดับร่วมสมัยที่ใช้แนวคิดจากทุนวัฒนธรรมมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐที่ต้องการพัฒนาและส่งเสริมทุนวัฒนธรรมในเชิงพาณิชย์เพื่อสร้างโอกาสในการพัฒนาผลงานการออกแบบจากทุนวัฒนธรรมไทยให้เกิดความยั่งยืนทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของไทยสืบต่อไป (จากบทคัดย่อ)

วิทยานิพนธ์ฉบับออนไลน์ http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59596


LOCATIONCALL#STATUS
Fine & Applied Arts Library : DFA ThesisR ว.พ. พ226น 2560LIB USE ONLY

การพัฒนาการทดสอบแบบปรับเหมาะแบบหลายขั้นตอนด้วยคอมพิวเตอร์เพื่อวัดสมรรถนะความรู้วิชาชีพหุมิติของครูช่างอุตสาหกรรม

การพัฒนาการทดสอบแบบปรับเหมาะแบบหลายขั้นตอนด้วยคอมพิวเตอร์เพื่อวัดสมรรถนะความรู้วิชาชีพหุมิติของครูช่างอุตสาหกรรม

(รางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2563: รางวัลวิทยานิพนธ์ระดับดี)

วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อ 1) พัฒนาโมเดลสมรรถนะความรู้วิชาชีพครูช่างอุตสาหกรรมของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรม 2) สร้างและตรวจสอบคุณภาพของชุดแบบวัดย่อยสมรรถนะความรู้วิชาชีพครูช่างอุตสาหกรรมแบบพหุมิติ 3) พัฒนาคลังข้อสอบสำหรับวัดสมรรถนะความรู้วิชาชีพครูช่างอุตสาหกรรมแบบพหุมิติ 4) พัฒนาการทดสอบแบบปรับเหมาะพหุมิติด้วยคอมพิวเตอร์แบบหลายขั้นตอน สำหรับวัดสมรรถนะความรู้วิชาชีพครูช่างอุตสาหกรรม และ 5) ตรวจสอบประสิทธิภาพของโปรแกรมการทดสอบแบบปรับเหมาะพหุมิติด้วยคอมพิวเตอร์แบบหลายขั้นตอน ผลการพัฒนาโปรแกรมการทดสอบแบบปรับเหมาะแบบหลายขั้นตอนด้วยคอมพิวเตอร์ เพื่อวัดสมรรถนะความรู้วิชาชีพพหุมิติของครูช่างอุตสาหกรรม แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนสำคัญ ได้แก่ 1) จุดเริ่มต้นการทดสอบ 2) การประมาณค่าความสามารถและการคัดเลือกข้อสอบ 3) เกณฑ์การยุติการทดสอบ และ 4) การรายงานผลการทดสอบ สำหรับผลการทดสอบของนักศึกษาด้วยโปรแกรมพบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่สอบได้คะแนนมาตรฐานเฉลี่ยในมิติความรู้วิชาชีพครู 49.85 คะแนน ส่วนมิติความรู้วิชาชีพพื้นฐานช่างอุตสาหกรรม 50.00 คะแนน ผลการประเมินความพึงพอใจต่อการใช้โปรแกรมการทดสอบ พบว่านักศึกษาส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อการใช้โปรแกรมในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (จากบทคัดย่อ)

วิทยานิพนธ์ฉบับออนไลน์ http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59462


Collection