ความลับที่คนอ่านหนังสือเท่านั้นจะรู้

ความลับที่คนอ่านหนังสือเท่านั้นจะรู้

พบกับเทคนิคอ่านหนังสือให้เข้าใจมากกว่าเดิม การอ่านเพื่อเก็บข้อมูลและอ่านเพื่อสร้างทัศนคติ วิธีใช้ "การรีวิว" และ "การแลกเปลี่ยนความเห็น" เพื่อเพิ่มความละเอียดลึกซึ้งให้ความคิด ควรอ่าน "หนังสือขายดีติดอันดับ" หรือไม่ "การอ่านแบบคาดเดา" ช่วยให้ความคิดปรับเปลี่ยนได้เร็วขึ้น "การอ่านหนังสือโดยเน้นปริมาณ" กับ "การอ่านในเชิงวิจารณ์" ฯลฯ เพราะการอ่านหนังสือคือการสร้างประสบการณ์และช่วยให้เราเป็นคนที่ลึกซึ้งมากขึ้น

สารบัญ

บทนำ ทำไมเราจึงต้องอ่านหนังสือในยุคสมัยนี้

บทที่ 1 ความหมายของ "ความลึกซึ้ง" ที่มีแต่คนอ่านหนังสือเท่านั้นสามารถเข้าถึงได้

บทที่ 2 ในเมื่อมีทั้งการอ่านที่ทำให้คนเราละเอียดลึกซึ้งขึ้นและทำให้ตื้นเขินลงควรจะอ่านอะไรและอ่านอย่างไรดี

บทที่ 3 วิธีอ่านหนังสือเพิ่มพลังความคิดให้ล้ำลึกขึ้น

บทที่ 4 วิธีอ่านหนังสือเพิ่มความรู้ให้ล้ำลึกขึ้น

บทที่ 5 วิธีอ่านหนังสือให้มีวิสัยทัศน์ล้ำลึกขึ้น

บทที่ 6 วิธีอ่านหนังสือให้ชีวิตล้ำลึกขึ้น

บทที่ 7 วิธีอ่านหนังสือที่อ่านยาก

หนังสือแนะนำชุด “เทคนิคการอ่านหนังสือ” เดือนกันยายน 2566


LOCATIONCALL#STATUS
Central Library (4th Floor)028 ท374ค 2563CHECK SHELVES
Central Library (4th Floor)028 ท374ค 2563CHECK SHELVES

วิชาอ่านโลกระหว่างบรรทัด How to read literature like a professor

วิชาอ่านโลกระหว่างบรรทัด How to read literature like a professor

ในโลกวรรณกรรม…ผีดูดเลือดคือการเอารัดเอาเปรียบ ไบเบิลเร้นกายอยู่ทุกที่ ฝนไม่เคยเป็นเพียงฝน ทุกสิ่งคือเซ็กซ์ ยกเว้นเซ็กซ์ การเมืองแฝงเร้นในทุกเรื่องราว และการไปเยี่ยมเพื่อนบ้านอาจเป็นการไปเยือนนรก!

ยินดีต้อนรับสู่ชั้นเรียนวรรณกรรมของ "ศาสตราจารย์โธมัส ซี. ฟอสเตอร์" ที่จะพาคุณดำดิ่งสู่โลกเร้นลับระหว่างบรรทัด ท่องอาณาจักรแห่งสัญลักษณ์และนัยแฝงเร้นที่นักประพันธ์ซุกซ่อนไว้ พร้อมเปิดประตูสู่มิติใหม่ภายใต้เรื่องราวที่คุณคุ้นเคยและไม่เคยคุ้น ร่วมหาคำตอบว่าแผลเป็นของแฮร์รี่ พอตเตอร์ สำคัญอย่างไร ทำไมฮันเซลกับเกรเทลจึงปรากฏซ้ำในนวนิยายยุคใหม่ และเหตุใดเราจึงไม่ควร "อ่านวรรณกรรมด้วยสายตาตัวเอง"

มาอ่านโลกระหว่างบรรทัดผ่านแว่นตาของนักอ่านวรรณกรรมชั้นครู ตื่นตากับความเป็นไปได้ไร้ที่สิ้นสุด เบื้องหลังผลงานของเหล่านักประพันธ์ชื่อก้อง ไม่ว่าจะเป็น โฮเมอร์ เชกสเปียร์ คาฟคา หรือเวอร์จิเนีย วูล์ฟ…รับรองว่าเมื่อคุณหยิบวรรณกรรมขึ้นมาอ่านครั้งต่อไป คุณจะได้ละเลียดรสชาติใหม่ที่ลุ่มลึก รุ่มรวย และรื่นรมย์กว่าที่เคย

หนังสือแนะนำชุด “เทคนิคการอ่านหนังสือ” เดือนกันยายน 2566


LOCATIONCALL#STATUS
Central Library (4th Floor)808 ฟ181ว 2565CHECK SHELVES
Central Library (4th Floor)808 ฟ181ว 2565CHECK SHELVES

การอ่านจับใจความ

การอ่านจับใจความ

การอ่านจับใจความ คือ การอ่านที่มุ่งค้นหาสาระของเรื่องหรือของหนังสือแต่ละเล่มที่เป็นส่วน ใจความสำคัญ และส่วนขยายใจความสำคัญของเรื่อง ใจความสำคัญของเรื่อง คือ ข้อความที่มีสาระคลุมข้อความอื่น ๆ ในย่อหน้านั้นหรือเรื่องนั้นทั้งหมด ข้อความอื่น ๆ เป็นเพียงส่วนขยายใจความสำคัญเท่านั้น ข้อความหนึ่งหรือตอนหนึ่งจะมีใจความสำคัญที่สุด

สารบัญ

หน่วยที่ 1 พื้นฐานการอ่านจับใจความ

หน่วยที่ 2 การอ่านจับใจความสำคัญย่อหน้า

หน่วยที่ 3 การอ่านจับใจความตำราวิชาการ

หน่วยที่ 4 การอ่านจับใจความข่าว

หน่วยที่ 5 การอ่านจับใจความบทความ

หน่วยที่ 6 การอ่านจับใจความสารคดี

หน่วยที่ 7 การอ่านจับใจความกวีนิพนธ์ร่วมสมัย

หน่วยที่ 8 การอ่านจับใจความเรื่องสั้นและนวนิยาย

หนังสือแนะนำชุด “เทคนิคการอ่านหนังสือ” เดือนกันยายน 2566


LOCATIONCALL#STATUS
Central Library (4th Floor)418.4 ว948ก 2564CHECK SHELVES
Central Library (4th Floor)418.4 ว948ก 2564DUE 24-10-24
Arts LibraryPL4165 ว287ก 2564CHECK SHELVES
Arts LibraryPL4165 ว287ก 2564CHECK SHELVES

อ่านแบบโทได

อ่านแบบโทได

มหาวิทยาลัยโตเกียวหรือ "โทได" คือมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งของญี่ปุ่น ที่นี่สอบเข้ายากและมีอัตราการแข่งขันสูงสุด มีเพียงนักเรียนระดับหัวกะทิเท่านั้นที่จะเข้าไปเรียนได้ "นิชิโอกะ อิสเซ" เป็นเด็กที่สอบได้ที่โหล่ของโรงเรียนปลายแถว แต่กลับสอบเข้าโทไดได้เป็นลำดับต้น ๆ ของประเทศ รวบรวมเทคนิคการอ่านที่เขาคิดค้นขึ้น จากการสังเกตวิธีอ่านที่ใช้กันในหมู่นักศึกษาโทได อาทิ ดึง "คำใบ้" จากหน้าปก, แค่เปลี่ยนท่านั่งแล้วจะจำได้ดีขึ้น, ใส่หนังสือ 2 เล่มไว้ในกระเป๋าเสมอ, อย่าอ่านแบบนักอ่าน แต่ให้อ่านแบบนักข่าว, หา "ก้างปลา" ในหนังสือให้เจอ, เมื่อรู้สึกว่าเข้าใจดีแล้ว นั่นคือจุดที่ควรระวัง และอื่น ๆ อีกมากมาย ที่จะช่วยฝึก "ไหวพริบ" และ "ทักษะการอ่านเชิงลึก" ไปพร้อม ๆ กัน

สารบัญ

ส่วนที่ 1 : 5 ขั้นตอนในการ "อ่านแบบโทได" ที่ช่วยพัฒนาไหวพริบ

- ขั้นตอนที่ 1 การตั้งสมมุติฐานช่วยให้ "ทักษะการอ่านเชิงลึก" เพิ่มขึ้นอย่างน่าทึ่ง

- ขั้นตอนที่ 2 การอ่านพร้อมกับสัมภาษณ์ช่วยให้มองเห็น "ทิศทางของเนื้อหา" ได้อย่างชัดเจน

- ขั้นตอนที่ 3 การอ่านพร้อมกับจัดระเบียบ ช่วยให้สามารถอธิบายเรื่องยาก ๆ ด้วยการ "สรุปแบบสั้น ๆ" ได้

- ขั้นตอนที่ 4 การอ่านพร้อมกับตรวจสอบช่วยให้ "มีมุมมองที่หลากหลาย"

- ขั้นตอนที่ 5 การอ่านพร้อมกับถกเถียงช่วยให้ "จำเนื้อหาในหนังสือได้อย่างแม่นยำ"

ส่วนที่ 2 วิธีเลือก "หนังสือที่ควรอ่าน" แบบโทได

- วิธีการที่ 0 จะเลือก "หนังสือที่มอบความรู้ให้กับตัวเราได้มากที่สุด" ได้อย่างไร

- วิธีการที่ 1 เลือกอ่านหนังสือขายดี

- วิธีการที่ 2 ขอคำแนะนำจากคนที่น่าเชื่อถือ

- วิธีการที่ 3 เลือกอ่านหนังสือขึ้นหิ้ง ที่ยังมีคนอ่านจนถึงปัจจุบัน

- วิธีการที่ 4 กำหนดหัวข้อของหนังสือที่จะอ่านปีนี้

- วิธีการที่ 5 เลือกอ่านหนังสือที่ "ไม่คิดอยากลองอ่าน"

หนังสือแนะนำชุด “เทคนิคการอ่านหนังสือ” เดือนกันยายน 2566


LOCATIONCALL#STATUS
Central Library (4th Floor)028 น561อ 2564CHECK SHELVES
Central Library (4th Floor)028 น561อ 2564CHECK SHELVES

เทคนิคอ่านให้ไม่ลืมที่จิตแพทย์อยากบอกคุณ

เทคนิคอ่านให้ไม่ลืมที่จิตแพทย์อยากบอกคุณ

เคยไหม...หนังสือที่มีคนอ่านแล้วบอกว่าดี แต่เราอ่านแล้วไม่ค่อยเข้าใจ เคยไหม...อ่านเท่าไหร่ก็ดูจะไม่เข้าหัวสักที เคยไหม...เพิ่งอ่านหนังสือจบวันนี้ วันพรุ่งนี้ก็จำเนื้อหาไม่ได้แล้ว ถ้าคำตอบของคุณคือเคยอย่างน้อยหนึ่งข้อ คุณจำเป็นต้องอ่านหนังสือเล่มนี้โดยด่วน!

"คะบะซะวะ ชิอง" จิตแพทย์ชื่อดังชาวญี่ปุ่น ได้นำประสบการณ์ตรงจากการอ่านหนังสือเดือนละไม่ต่ำกว่า 30 เล่มมาตลอด 30 ปี และความรู้ล่าสุดทางด้านประสาทวิทยามาผสมผสานกัน และสรุปเป็นเทคนิคที่จะช่วยให้คุณอ่านเข้าหัว และจำได้แม่นไม่มีวันลืม ไม่ว่าจะนำไปใช้กับการเรียน การทำงาน ธุรกิจ หรือเรื่องใด ๆ ก็ตามในชีวิต อาทิเช่น อ่านครั้งละ 15 นาที 4 ครั้งจะช่วยให้จำได้แม่นกว่าอ่านรวดเดียว 1 ชั่วโมง ถ้าอยากจำเรื่องยาก ๆ อย่าท่องจำตอนกลางวัน อ่านแบบสลับบทไปมาจะช่วยให้เนื้อหาติดหนึบอยู่ในหัว ขยับมือไปด้วยระหว่างที่อ่าน แล้วพลังสมองจะเพิ่มขึ้นมหาศาล การตั้งใจอ่านทุกตัวอักษรจะทให้คุณจำเนื้อหาได้น้อยลง ถ้าอ่านหนังสือตอนที่กำลังตื่นเต้น คุณจะจำเนื้อหาได้นานถึง 30 ปี!

สารบัญ

บทที่ 1 ทำไมเราจึงควรอ่านหนังสือ และหนังสือให้อะไรกับเรา

บทที่ 2 กฎ 3 ข้อที่ช่วยให้ "อ่านแล้วจำได้ไม่ลืม" ของจิตแพทย์

บทที่ 3 เคล็ดลับขณะอ่านหนังสือของจิตแพทย์ ที่ช่วยให้ "อ่านแล้วจำได้ไม่ลืม"

บทที่ 4 "เทคนิคการอ่านให้จำได้ไม่ลืม" ของจิตแพทย์ ฉบับลงภาคสนาม

บทที่ 5 เทคนิคการเลือกหนังสือของจิตแพทย์

บทที่ 6 สุดยอดเทคนิคการอ่านอีบุ๊กที่ช่วยให้อ่านได้มาก อ่านได้ไว และอ่านได้ในราคาถูก

บทที่ 7 เคล็ดลับการซื้อหนังสือที่ช่วยให้ "ชีวิตมั่งคั่ง" ของจิตแพทย์

บทที่ 8 หนังสือตอบโจทย์ 31 เล่มที่จิตแพทย์ขอแนะนำ

หนังสือแนะนำชุด “เทคนิคการอ่านหนังสือ” เดือนกันยายน 2566


LOCATIONCALL#STATUS
Central Library (4th Floor)028.9 ช576ท 2560CHECK SHELVES
Central Library (4th Floor)028.9 ช576ท 2560CHECK SHELVES
Chula Business School Library028.9 ช576ท 2560CHECK SHELVES
Arts LibraryZ1003 ช239ทCHECK SHELVES
Arts LibraryZ1003 ช239ทCHECK SHELVES

อ่านเร็ว เข้าใจ ไม่มีวันลืม Read it, get it, and never forget it

อ่านเร็ว เข้าใจ ไม่มีวันลืม Read it, get it, and never forget it

การอ่านสำคัญต่อการคิด การตัดสินใจ และการทำภารกิจแทบทุกอย่าง เราคิดว่าเราอ่านเป็นจริงๆ แล้วดูเหมือนจะไม่ใช่ พบว่า 93% ของพวกเราเสียสมาธิในการอ่านง่ายมาก 84% ลืมข้อมูลที่อ่านแค่ในวันถัดไป 72% อ่านข้อมูลแบบข้ามๆ เพราะอ่านช้าเกินที่จะอ่านทั้งหมด

สารบัญ

วิธีอ่านหนังสือเล่มนี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

บทนำ สถานการณ์:เรากลายเป็นคนไม่รู้หนังสือกันอีกครั้ง

วิธี Use Clark

หลักการข้อที่ 1:เป็นเรื่องของวิธีล้วนๆ

หลักการข้อที่ 2:อุดช่องว่าง

หลักการข้อที่ 3:ทำงานทีละอย่าง

หลักการข้อที่ 4:ต่อจุด

หลักการข้อที่ 5:ใช้สมองเยอะๆ

หลักการข้อที่ 6:ใช้ภาพ

หลักการข้อที่ 7:ใช้ความคิดสร้างสรรค์

หลักการข้อที่ 8:อย่าเรียนรู้มากเกินไป

การนำไปใช้

เลิกทำแบบขอไปที

บทบาทของการศึกษา

บทบาทของเทคโนโลยี

หนังสือแนะนำชุด “เทคนิคการอ่านหนังสือ” เดือนกันยายน 2566


LOCATIONCALL#STATUS
Central Library (4th Floor)418.4 ต374อ 2561CHECK SHELVES
Central Library (4th Floor)418.4 ต374อ 2561CHECK SHELVES

Collection