ท่านถาม-เราตอบ

ประจำเดือน มีนาคม 2546


วันที่ติดบอร์ด    27 มีนาคม 2546

คำถาม     หากเป็นไปได้ข้าพเจ้าอยากให้หอสมุดกลางมีหนังสือทุกเล่ม ที่มีรายชื่ออยู่ในคอมพิวเตอร์ เพื่อความสะดวกในการค้นหา ข้อมูลให้เสร็จในที่เดียว ไม่ต้องคอยไปตามคณะต่างๆ ซึ่ง บางทีก็ไม่ทราบว่าตั้งอยู่ที่ไหน เปิดบริการถึงเมื่อไหร่

คำตอบ      จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีห้องสมุดกระจายไปตามคณะและสถาบันต่างๆ จำนวนประมาณ 34 แห่ง มีการดำเนินงานและมีงบประมาณเป็นเอกเทศไม่ขึ้นอยู่กับสถาบันวิทยบริการ หนังสือที่มีให้บริการที่แต่ละแห่งก็จะเน้นเนื้อหาเฉพาะในสาขาของตน หากมีการดำเนินงานแบบรวมศูนย์อยู่ที่สถาบันวิทยบริการจะทำให้ผู้ใช้ในคณะ/สถาบันนั้นๆไม่สะดวก การที่มีระบบอัตโนมัติมาช่วยรวมรายชื่อหนังสือที่มีอยู่ทุกแห่งทั้งหมดไว้ในที่เดียวกันได้นับว่าทำให้การค้นคว้าสะดวกมากขึ้น ถ้าท่านต้องการใช้หนังสือที่มีอยู่ที่ห้องสมุดคณะ/สถาบันใด ขอแนะนำให้ติดต่อบรรณารักษ์ของท่านเพื่อใช้บริการยืมระหว่างห้องสมุด ข้อมูลบริการเปิดปิดห้องสมุดและหมายเลขโทรศัพท์ติดต่อต่างๆมีอยู่ที่ OPAC อยู่แล้ว

วันที่ติดบอร์ด    13 มีนาคม 2546

คำถาม     สมัครสมาชิกห้องสมุดทำอย่างไร

คำตอบ      นิสิตเป็นสมาชิกโดยอัตโนมัติเมื่อลงทะเบียนแรกเข้าเรียบร้อย และจะได้รับการต่ออายุสมาชิกหลังการลงทะเบียนทุกภาคการศึกษา บุคคลภายนอกสมัครสมาชิกที่เคาน์เตอร์ยืม-คืนฯ ชั้น 1 โดยแสดงเอกสารสำคัญพร้อมจ่ายจ่าสมาชิกตามประเภทของบุคคลและประเภทสมาชิกที่สมัคร ซึ่งมีทั้งประเภทที่ยืมได้และยืมไม่ได้ ติดต่อสอบถามและขอรายละเอียดการสมัครพร้อมทั้งสิทธิสมาชิกได้ที่ เคาน์เตอร์ยืม-คืน ชั้น 1 หอสมุดกลาง สถาบันวิทยบริการ หรือโทร. 0-22182927-8

 

คำถาม     ให้นิสิตปริญญาโทยืมหนังสือในช่วงเปิดเทอมได้อย่างไม่มีเงื่อนไข

คำตอบ      ขณะนี้ทุกหน่วยงานของสถาบันวิทยบริการได้เปิดให้นิสิตทุกระดับยืม-คืนระหว่างเปิดเทอมได้ โดยขอให้มาต่ออายุสมาชิกหลังจากปิดภาคการศึกษา โดยจะเว้นช่วงเวลาไป 7 วันทำการ เพื่อการทวงหนังสือที่ค้างส่งและรอผลการศึกษา การที่ต้องมีการต่ออายุสมาชิกก่อน เนื่องจากในแต่ละภาคจะมีนิสิตที่จบการศึกษาลาออก รีไทร์ โดยเฉพาะนิสิตบัณฑิต ซึ่งแต่ละคนใช้เวลาศึกษาไม่เท่ากัน จึงต้องขอให้แสดงหลักฐานความเป็นนิสิตก่อนที่จะต่ออายุสมาชิกและใช้บริการต่อไป

 

คำถาม     เครื่องคอมพิวเตอร์ให้บริการอินเทอร์เน็ตที่ CU Cyber Zone ช้ามาก ต้องการพิมพ์งาน ผู้ให้บริการหน้าตาไม่ยิ้มแย้ม และเข้มงวดเกินไป

คำตอบ      ดังที่เคยแจ้งแล้วว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ CU Cyber Zone มีอายุการใช้งานมานาน ทำให้เครื่องเสื่อมสภาพ ไม่สามารถรองรับการใช้บริการอินเทอร์เน็ตได้เหมือนเดิม แต่ในการใช้บริการผู้รับบริการต้องปฏิบัติตามระเบียบการใช้บริการต่างๆ ซึ่งอาจทำให้ผู้รับบริการเห็นว่าผู้ให้บริการเข้มงวดเกินไป ในขณะที่ผู้รับบริการคิดว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่การที่ผู้รับบริการไม่ปฏิบัติตามระเบียบการใช้บริการอาจส่งผลให้เกิดปัญหาต่อส่วนรวมได้ ดังนี้

  1. การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์มากกว่า 1 คน ต่อ 1 เครื่อง เป็นการรบกวนผู้รับบริการท่านอื่นๆที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ข้างเคียง และผู้ใช้งานต้องเป็นผู้ขอรับบริการด้วยตนเอง ไม่ใช่จองเครื่องให้คนอื่นใช้งาน

  2. การนำแผ่นบันทึกข้อมูล (diskette) เข้ามาใช้งาน อาจทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ติดไวรัส ส่งผลให้ระบบคอมพิวเตอร์เกิดปัญหา ไม่สามารถให้บริการได้ ซึ่งระเบียบการใช้บริการได้แจ้งไว้ชัดเจนทั้งที่เป็นป้ายประกาศหน้าห้อง และแบบฟอร์มขอใช้บริการแล้ว ดังนั้นการที่ผู้ร้องเรียนไม่ปฏิบัติตามระเบียบ จึงเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง นอกจากนี้วัตถุประสงค์ของให้บริการที่ CU Cyber Zone คือ เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาคมจุฬาฯได้ใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ดังนั้นจึงไม่มีบริการให้พิมพ์งาน ซึ่งผู้รับบริการสามารถใช้บริการนี้ได้ที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ของคณะ/สถาบันที่สังกัดได้อยู่แล้ว

 

คำถาม     ผมมาหาหนังสือทางด้านเศรษฐศาสตร์ มีความรู้สึกว่าเก่าถึงเก่ามาก ก็อยากให้ update หน่อยนะครับ  (ผู้ถาม : คุณศุภโชค ตันติวิท)

คำตอบ      ขอขอบคุณในข้อเสนอแนะ เราจะพยายามจัดหาให้ทันสมัยขึ้นค่ะ แต่ขอเรียนว่าเรามีข้อจำกัดเรื่องงบประมาณ จึงจัดซื้อหนังสือแต่ละสาขาได้จำนวนไม่มากเท่าที่เราอยากซื้อ อย่างไรก็ตามคุณศุภชัยอย่าลืมใช้หนังสือและสารนิเทศที่ห้องสมุดคณะเศรษฐศาสตร์ซึ่งให้บริการสาขานี้โดยตรงด้วยนะคะ หนังสือที่หอสมุดกลางจะเป็นเรื่องกว้างๆไม่เจาะลึกมากนัก

วันที่ติดบอร์ด    6 มีนาคม 2546

คำถาม      

คำตอบ      ขอตอบรวมเลยค่ะว่าหอสมุดกลางจะเน้นจัดซื้อหนังสือที่ผลิตจำหน่ายในปีงบประมาณนั้นตามดัชนีคุณภาพของสถาบันฯที่ตั้งไว้ ดังนั้นหนังสือที่จัดหาจึงต้องทันสมัยอยู่เสมอ แต่ด้วยเหตุที่ในแต่ละปีงบประมาณที่ได้รับจะจัดซื้อหนังสือได้เพียงประมาณปีละ 3,000-4,000 ชื่อ และต้องจัดซื้อหนังสือกระจายทุกสาขาทางด้านมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ทั่วไป ดังนั้นในแต่ละสาขาจึงซื้อได้จำนวนไม่มากนักประกอบกับหนังสือที่ให้บริการในหอสมุดกลางมีจำนวนหลายแสนรายการ หนังสือใหม่ที่นำออกบริการจึงอาจไม่เห็นเด่นชัด แนวทางการจัดซื้อหนังสือของหอสมุดกลางและห้องสมุดคณะ/สถาบันฯในจุฬาฯ จะไม่ซื้อสิ่งพิมพ์ที่ซ้ำซ้อนกันแต่ะจะช่วยส่งเสริมซึ่งกันและกัน กล่าวคือห้องสมุดคณะ/สถาบันฯจะเน้นจัดซื้อเฉพาะสาขา เนื้อหาลึก ส่วนหอสมุดกลางจะจัดหาออกแนวกว้างที่ใช้ได้ทั่วไป อีกทั้งพยายามจัดซื้อหนังสือไม่ให้ชื่อซ้ำกัน ดังนั้นหากมีหนังสือซื้อชื่อใดที่ห้องสมุดคณะ/สถาบันฯมีแล้วก็มักจะไม่มีที่หอสมุดกลางอีก การใช้ห้องสมุดเพื่อการเรียนการสอนจึงต้องใช้ทั้งหอสมุดกลางและห้องสมุดคณะ/สถาบันควบคู่กัน นอกจากหนังสือแล้วขอแนะนำให้ใช้ฐานข้อมูลต่างๆ (CU Reference Databases) ที่มีให้บริการทั้งในหอสมุดกลางและห้องสมุดคณะและสถาบันฯในจุฬาฯจำนวนมากมายหลายฐาน ครอบคลุมสาขาที่มีการเรียนการสอนในจุฬาฯ สารนิเทศในฐานข้อมูลเหล่านี้จะกว้างขวาง เจาะลึก และทันสมัยมาก เพราะมีการ update ข้อมูลอยู่เสมอ ลองใช้ดูแล้วจะพบว่ามีอะไรดีๆมากมายในนั้น

 

คำถาม     ขอเสนอแนะหนังสือชื่อ 100 years of Solitude

คำตอบ      จะดำเนินการจัดซื้อต่อไป