ท่านถาม-เราตอบ

ประจำเดือน กุมภาพันธ์ 2546


วันที่ติดบอร์ด    27 กุมภาพันธ์ 2546

คำถาม     ขอเสนอแนะให้บุคคลภายนอกสืบค้นฐานข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ได้ด้วยตนเองเหมือนนิสิต บุคลากร ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำตอบ      จากข้อเสนอแนะคาดว่าหมายถึงการใช้บริการสืบค้นฐานข้อมูลเพื่อการค้นคว้าวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งให้บริการ 2 รูปแบบคือ

  1. บริการโดยบรรณารักษ์/นักเอกสารสนเทศเป็นผู้สืบค้นให้ ซึ่งให้บริการทั้งบุคลากรจุฬาฯ และบุคคลภายนอก ผู้รับบริการสามารถสอบถามรายละเอียดและขอรับบริการได้ที่งานบริการสืบค้นสารสนเทศ ฝ่ายบริการผู้อ่าน ชั้น 1 การให้บริการจะเป็นไปตามลำดับคำขอรับบริการที่ผู้รับบริการยื่นไว้ (นิสิต บุคลากรจุฬาฯ และบุคคลภายนอก เรียงตามลำดับก่อนหลังเหมือนกัน) ซึ่งผู้ให้บริการจะรีบดำเนินการสืบค้นให้ หากไม่มีคำขอรอดำเนินการอยู่ ก็สามารถรอรับข้อมูลได้ แต่ถ้าผู้รับบริการมาติดต่อนอกเวลาราชการคงต้องขอความกรุณายื่นเฉพาะคำขอไว้ และมารับผลการสืบค้นตามกำหนดนัดหมาย กรณีนี้มีค่าใช้จ่าย

  2. บริการคอมพิวเตอร์ให้ผู้รับบริการสืบค้นเอง โดยให้บริการเฉพาะบุคลากรจุฬาฯ เนื่องจากจำนวนเครื่องที่มีจำกัด สำหรับผู้รับบริการภายนอกที่เป็นบุคลากรจากมหาวิทยาลัยอื่นๆ โปรดตรวจสอบการให้บริการฐานข้อมูลที่ห้องสมุดของมหาวิทยาลัยของท่าน เพื่อความสะดวกและไม่เสียเวลาในการเดินทางไปใช้บริการต่างมหาวิทยาลัย และขณะนี้ทางทบวงมหาวิทยาลัยก็ได้บอกรับฐานข้อมูลหลายฐานเพื่อการใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกันของมหาวิทยาลัยในสังกัด แต่ถ้าที่หน่วยงานของท่านไม่มีฐานข้อมูลที่ต้องการ และฐานข้อมูลนั้นมีให้บริการที่จุฬาฯ ติดต่อสอบถามดังรายละเอียดข้างต้น

 

คำถาม      ขอเสนอแนะหนังสือต่อไปนี้

  1.  Tai Chi Theory and Material Power

  2.  The Competent Organization

คำตอบ      

  1. รายการที่ 1 จัดพิมพ์ตั้งแต่ปีค.ศ. 1995-96 ขอไม่จัดซื้อ

  2. รายการที่ 2 จะดำเนินการจัดซื้อต่อไป

คำถาม      ผมค่อนข้างแปลกใจที่หนังสือที่ผมแนะนำไปแทบจะไม่เคยได้รับการจัดซื้อเลย ขณะเดียวกันหนังสือที่เกี่ยวกับการวิจัยพวก Journal, Conference ของ Springer-Verlag กลับมีการสั่งซื้อเป็นจำนวนมาก ทั้งที่จุฬาฯเองก็มีให้บริการ download ได้อยู่แล้ว เป็นการใช้งบประมาณซ้ำ เพราะข้อมูลพวกนี้ถ้าไม่ใช่พวกที่ทำ Thesis คงไม่มีใครใช้อ่านกัน หนังสือที่ผมแนะนำให้ซื้อเป็นส่วนใหญ่เกี่ยวกับ Technology ใหม่ๆ หรือเกือบจะใหม่ล่าสุดที่ค่อนข้างจะเป็น Trend ในยุคต่อไป หรือในด้านงานวิจัยด้วยซ้ำ ผมแปลกใจที่จุฬาฯมีหนังสือที่ล้าหลังทางด้าน Technology กว่า KMUTT มากๆ อย่างที่บอกว่าหนังสือ Conference, Proceeding ของ Springer-Verlage หรือ ACM บาง session ราคาเล่มละหลายพันบาท ไม่จำเป็นต้องซื้อเลย เพราะสามารถหา download ได้จาก CU Reference Databases ภายในวง LAN ของจุฬาฯ ผมอยากรู้ว่ากระบวนการพิจารณากลั่นกรองเพื่อที่จะสั่งซื้อหนังสือที่มีคนแนะนำเข้ามานั้นผ่านผู้ทรงความรู้ในแต่ละด้านพิจารณาหรือไม่และจะใช้ระยะเวลาตัดสินใจเท่าไร

คำตอบ      ขอชี้แจงว่าแนวทางการจัดหาสิ่งพิมพ์ของหอสมุดกลางจะเน้นทางด้านมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ทั่วไปและสหสาขาวิชา ส่วนเนื้อหาเฉพาะสาขาเฉพาะทางจะเป็นหน้าที่ของห้องสมุดคณะ/สถาบันฯ หนังสือที่เสนอแนะมามีเนื้อหาเฉพาะทางด้านคอมพิวเตอร์ จึงได้ส่งต่อข้อเสนอแนะไปยังห้องสมุดคณะวิศวกรรมศาสตร์พิจารณาค่ะ (ได้แจ้งให้ทราบทางบอร์ดตอบปัญหานี้แล้ว) สำหรับหนังสือ Conference, Proceeding ของ Springer-Verlage กับ ACM นั้น เป็น "ฉบับได้เปล่า" จากการบอกรับฐานข้อมูล Lecture Notes in Computer Science และฐานข้อมูล ACM เราไม่ได้จัดซื้อค่ะ หนังสือที่ได้รับการเสนอแนะจากผู้รับบริการ เราจะพิจารณาทันทีและแจ้งผลกลับให้ทราบทางบอร์ดตอบปัญหานี้ภายในสัปดาห์ถัดไป

 

คำถาม      หากเป็นไปได้อยากให้ห้องสมุดรวมวิทยานิพนธ์ทั้งหมดทุกคณะด้วยจะได้ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง

คำตอบ      วิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษาเกือบทั้งหมดทางบัณฑิตวิทยาลัยส่งมาให้สถาบันวิทยบริการเพื่อให้บริการ ยกเว้นวิทยานิพนธ์ของวิทยาลัยการสาธารณสุข วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี และสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ ที่ไม่ได้ส่งตัวเล่มให้บัณฑิตวิทยาลัย

วันที่ติดบอร์ด    20 กุมภาพันธ์ 2546

คำถาม     I cannot understand the code like ; fca, fec, fbg, fps, isi. I don't know where can I understand that. I think you should add a list to explain these abbreviations. 

คำตอบ      Thank you for your suggestion, you can see the abbreviation meaning from "Location Code" link on Chulalinet search page. (http://library.car.chula.ac.th/screens/Location.html)

คำถาม     ต้องการใช้วิทยานิพนธ์ 2 รายการ ช่วยตรวจสอบให้ด้วย 

คำตอบ      สถาบันฯได้ตรวจสอบให้แล้วทั้ง 2 รายการ ดังนี้

  1. วิทยานิพนธ์ของคุณกชกร เป้าสุวรรณ

  2. วิทยานิพนธ์ของคุณก้องไทย ทะสดวก (ท่านแจ้งว่าชื่อ ก้องเกียง)

ทั้ง 2 รายการนี้ เป็นวิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปีการศึกษา 2542 และ 2541 ตามลำดับ ไม่ใช่วิทยานิพนธ์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตามที่ท่านเข้าใจ และได้ตรวจสอบเพิ่มเติมจาก Collection หนังสือหมวดหมู่อื่นๆพบว่า สถาบันฯไม่มีรายการดังกล่าวให้บริการ ทั้งนี้คาดว่าท่านคงตรวจสอบรายชื่อมาจากบทคัดย่อวิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งสถาบันฯได้จัดให้มีรวมบทคัดย่อวิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัยต่างๆไว้ให้บริการในห้องวิทยานิพนธ์ชั้น 1 ด้วย อย่างไรก็ตามในหน้า 413 และหน้า 259 ของบทคัดย่อปีการศึกษา 2542 และ 2541 ตามลำดับนั้น ได้แสดงรายละเอียดชัดเจนว่าเป็นวิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หากท่านมีข้อสงสัยประการใดในการใช้บริการครั้งต่อๆไป โปรดสอบถามผู้ให้บริการได้ตลอดเวลา

วันที่ติดบอร์ด    13 กุมภาพันธ์ 2546

คำถาม     รบกวนช่วยต่ออายุสมาชิกของ IEEE ให้หน่อยครับ เพราะช่วงนี้ผมและเพื่อนๆต้องการค้น paper มาก มันมีผลต่อวิทยานิพนธ์นะครับ

คำตอบ      ทบวงมหาวิทยาลัยกำลังดำเนินการต่ออายุสมาชิกอยู่ ช่วงที่ขาดหายไปเพราะมีปัญหาเรื่องการจัดการและบริหารงบประมาณ คาดว่าจะใช้ได้ในเดือนมีนาคม 2546 ขณะนี้มหาวิทยาลัยในสังกัดทบวงฯ 24 แห่ง ก็กำลังเดือดร้อนและพยายามเร่งรัดทบวงฯอยู่ค่ะ

วันที่ติดบอร์ด    6 กุมภาพันธ์ 2546

คำถาม     ขอเสนอแนะหนังสือต่อไปนี้

คำตอบ      รายการที่ 1, 2 จะดำเนินการจัดซื้อต่อไป รายการที่ 3, 4 ฉบับพิมพ์ปีล่าสุดคือ ปี 1991 และ 1990 ตามลำดับ ซึ่งนานมาแล้ว จึงขอไม่จัดซื้อ