13 กันยายน 2549
จาก http://www.cu-qa.chula.ac.th/suggest/sug_ans.asp?GID=2244

คำถาม
จากคุณ จุฬาตรีคูณ วันที่ 1กันยายน 2549[17:13 น.]

เรียน ผู้รับผิดชอบเสียงสวรรค์ฯ
เป็นนิสิตเก่า ที่เข้ารับบริการห้องสมุดในจุฬาฯ โดยเฉพาะหอสมุดกลาง สถาบันวิทยบริการเป็นประจำ ขอชมเชยว่า บุคลากรฝ่ายต่าง ๆ ของหอสมุดกลาง สถาบันวิทยบริการนั้น ให้บริการด้วยอัธยาศรัยไมตรีที่ดียิ่ง เป็นที่ประทับใจ แต่อยากจะเรียนเพิ่มเติมว่า website ของสถาบันนั้น ใช้เวลาปรับปรุงนานจัง ขอเป็นกำลังใจให้ อยากให้ปรับปรุงเสร็จเร็ว ๆ จะได้ให้บริการข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ของสถาบันฯ ได้อย่างเต็มศักยภาพ อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสาธารณชนทั่วไปอย่างกว้างขวาง
ขอบคุณ

คำตอบ

เรียน คุณจุฬาตรีคูณ และ คุณจามจุรี สีทอง

ขอขอบคุณที่ให้ความสนใจเว็บไซต์ของสถาบันวิทยบริการ และให้กำลังใจมา สถาบันฯ ขอเรียนชี้แจงว่าการปรับปรุงเว็บไซต์สถาบันฯ ในครั้งนี้เป็นการปรับปรุงใหญ่ มีความจำเป็นต้องย้ายข้อมูล และกำหนดโครงสร้างของเว็บ รวมทั้งเนื้อหาใหม่ทั้งหมด และยังต้องวางรากฐานของเว็บ
เผื่อสำหรับอนาคต จึงทำให้การปรับปรุงเป็นไปด้วยความล่าช้า จากการประมาณ คาดว่า หน้าสำหรับผู้ใช้ (Front End) จะเสร็จสมบูรณ์ก่อนเปิดภาคการศึกษาหน้า แต่จะเสร็จสิ้นี้ อย่างสมบูรณ์ในทุกส่วน (Back End) ราวสิ้นปีครับ

ชี้แจงโดย
สุชิน ประสงค์บัณทิต
ฝ่ายระบบสารสนเทศ หอสมุดกลาง สถาบันวิทยบริการ

19 กรกฎาคม 2549
จาก http://www.cu-qa.chula.ac.th/suggest/sug_ans.asp?GID=2146

คำถาม
จากคุณ thipnaree วันที่ 9 กรกฎาคม 2549 [14:2 น.]

ใช้งาน blackboard ไม่ได้ มีปัญหามากเลยค่ะ เนื่องจากเรียนวิชาเลือกที่ต้องทำงานส่งทาง blackboard ทำงานไม่ได้เลย รบกวนช่วยแก้ไขด้วยนะคะ

ความคิดเห็นเพิ่มเติม

ความคิดเห็นจากคุณ รศ. ดร. ธีระพร อุวรรณโณ เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2549 [15:37 น.]

ผมสอนนิสิต ป. ตรี 136 คน และ ป. โท 11 คน ให้ส่งงานทางแบล๊คบอร์ดประจำ ไม่เห็นเขาบ่นว่ามีปัญหาเลย ถ้าคนตั้งประเด็นจะทำให้ประเด็นเฉพาะเจาะจงหน่อย คนตอบเขาจะได้ตอบได้ตรงประเด็น สิ่งหนึ่งที่ควรทราบด้วย คือ คนสร้างและคนเข้าใช้ที่มีไอดีถูกต้อง เข้าใช้จากไอเอสพีใดก็ได้ ไม่จะเป็นต้องเข้าจาก IP Address ของจุฬา ฯ ถ้าจะใช้ฐานข้อมูลที่จุฬาบอกรับ จึงต้องใช้ IP Address ของจุฬา ฯ

คำตอบ       

เรียน คุณ Thipnaree

ตามที่ สถาบันวิทยบริการ ได้สนับสนุนการเรียนการสอนแบบออนไลน์ด้วยโปรแกรม Blackboard และสามารถให้บริการอย่างต่อเนื่อง หากคุณ Thipnaree ยังพบปัญหาในการใช้งาน โปรดติดต่อสอบถามเรื่อง Blackboard จากทีมงานของสถาบันฯ ดังนี้

นายสุชิน ประสงค์บัณฑิต
โทร. 0-2218-2924
e-mail: suchin.p@car.chula.ac.th
นางสาวไข่มุกข์ พบถาวร
โทร. 0-2218-2924
e-mail: kaimook.p@car.chula.ac.th
นางสาวสายฝน เต่าแก้ว
โทร. 0-2218-2923
e-mail: saifon.t@car.chula.ac.th

ชี้แจงโดย
สำนักงานประกันคุณภาพสถาบันวิทยบริการ

22 มิถุนายน 2549
จาก http://www.cu-qa.chula.ac.th/suggest/sug_ans.asp?GID=2077

คำถาม
จากคุณ บุคลลภายนอก ข้อความเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2549 [17:15 น.]

อยากให้ทางจุฬายกเลิกการเก็บค่าธรรมเนียมการเข้าห้องสมุดของคณะต่างๆ และหอสมุดกลางในจุฬา เนื่องจากเห็นว่าบุคคลภายนอกนั้นไม่มาสามารถใช้บริการอินเตอร์ หรือการบริการอื่นๆ ที่นอกเหนือจากหนังสือ หรือสิ่งพิมพ์เหมือนนิสิตของสถาบันอยู่แล้ว และบางครั้งไปห้องสมุดของคณะก็ไม่พบหนังสือที่ต้องการ จึงต้องมาที่หอกลางซึ่งต้องเสียค่าเข้าใช้บริการเพิ่มอีก บางคนเขามาเพื่อค้นข้อมูลไม่ถึงชั่วโมงก็ต้องเสีย 20 บาทแล้ว แล้วถ้าไม่ได้จ้อมูลที่ต้องการก็ต้องเสียเงินฟรี เมื่อก่อนห้องสมุดคณะอักษรบุคคลภายนอก ไม่เสียค่ามหาธรรมเนียม แต่ปัจจุบัน ต้องเสีย 20 บาท

ความคิดเห็นเพิ่มเติม

ความคิดเห็นจากคุณ เคยมาใช้บริการเหมือนกัน เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2549 [15:46 น.]

ผมไม่เห็นด้วยนะครับ เพราะห้องสมุดเองก็ต้องมีค่าบำรุงรักษา ค่าแอร์ ค่าซื้อหนังสือใหม่ๆ ฯลฯ ค่าบริการ 20 บาทในการยืมเมื่อเทียบกับการที่ไปซื้อหนังสือเล่มนั้นมาเองนั้นมันน้อยมากโดยเฉพาะพวก text book ต่างๆ
นอกจากนั้นหลายๆ คนที่เข้ามาใช้บริการก็ใช้บริการนานทั้งวัน ถ้าเข้าฟรีแล้วจุฬาจะเอาเงินจากไหนมาซื้อหนังสือใหม่ๆ ให้พวกเรายืมกันละครับ ไหนจะค่าแอร์ ค่าบำรุง เงินเดือนพนักงานอีก เท่าที่ผมทราบมาทางจุฬามีเวปของห้องสมุดคณะต่างๆ กับเวปหอสมุดกลางคอยเชคได้ว่ามีหนังสือเล่มไหนด้วย น่าจะลองเชคก่อนไปยืมได้นะครับ

คำตอบ

เรียน คุณ บุคลลภายนอก

สถาบันวิทยบริการ ได้นำข้อคิดเห็นของท่านเข้าที่ประชุม Inner เมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 2549 ซึ่งที่ประชุมมีมติให้สถาบันฯ ปฏิบัติตามประกาศของมหาวิทยาลัย เรื่อง เกณฑ์การจัดเก็บเงินค่าบำรุงสมาชิกสถาบันฯ พ.ศ. 2537 โดยรวมอัตราการจัดเก็บค่าใช้บริการรายวันสำหรับบุคคลภายนอกด้วย เนื่องด้วยเหตุผลและความจำเป็นตามพันธกิจหลักที่สถาบันฯ ได้รับมอบหมายจากมหาวิทยาลัย คือ การให้บริการวิชาการแก่ประชาคมจุฬาฯ โดยมหาวิทยาลัยได้จัดสรรงบประมาณส่วนหนึ่งจากค่าลงทะเบียนของนิสิตมาสนับสนุนการดำเนินงานของสถาบันฯ ตลอดมา

ทั้งนี้ ขอเรียนเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันสถาบันฯ ได้จัดเตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อการสืบค้นข้อมูลของเครือข่ายห้องสมุดในจุฬาฯไว้ ณ บริเวณเคาน์เตอร์รับฝากของ ชั้น 1 ด้วยแล้ว สำหรับให้ผู้รับบริการได้มีโอกาสสืบค้นข้อมูลที่ต้องการเบื้องต้น โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เพื่อช่วยการตัดสินใจของผู้รับบริการในการจะเข้าใช้บริการรายวันสำหรับบุคคลภายนอก ค้นหาข้อมูลที่ต้องการต่อ ภายในหอสมุดกลาง สถาบันวิทยบริการ

ชี้แจงโดย
สำนักงานประกันคุณภาพสถาบันวิทยบริการ

27 กุมภาพันธ์ 2549
จาก http://www.cu-qa.chula.ac.th/suggest/sug_ans.asp?GID=1940

คำถาม
เรียน       สถาบันวิทยบริการ ตลอดเวลาหลายเดือน ที่กระผมได้ตามหาหนังสือหนึ่งเล่ม ที่ระบบยืมคืนบอกว่าอยู่ที่ชั้นหนังสือ แต่ว่าไม่มีตัวเล่มอยู่จริง ทำให้ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากหนังสือเล่มดังกล่าว ตอนแรก ๆ ก็ไม่คิดอะไร แต่ว่าความจำเป็นต้องใช้ จึงถามเจ้าหน้าที่ที่อยู่แผนกยืม พบแต่รอยยิ้มบอกด้วย บางเล่มก็หายไปนานแล้ว ต่อมากระผมก็พบว่า เราสามารถติดตามหนังสือเล่มดังกล่าวได้โดยการกรอกแบบฟอร์ม แล้วเจ้าหน้าที่ที่ห้องหนังสือจะคอยดูให้ แต่ก็ไม่สำเร็จ เหมือนหนังสือ หายไปจากห้องสมุด ไม่มีใครสนใจตามหา เป็นความลำบากสำหรับคนที่ทำงานวิจัย แต่ขาดเอกสาร ขอติบ้าง เคยได้ยินเจ้าหน้าที่ที่อยู่ห้องหนังสือบอกว่า บางครั้ง คนในห้องสมุดก็จะหยิบไปใช้ แล้วก็ไม่ลงทะเบียนยืมกับระบบ ทำให้มีสถานะดูที่ชั้นหนังสือ ขอร้องครับ ได้โปรด ช่วยเราด้วย เห็นใจคนที่จำเป็นต้องใช้หนังสือบ้าง อยากได้คำตอบเร็ว ๆ ครับ

คำตอบ       เรียน คุณชม วัฒนธรรม สถาบันวิทยบริการ ขอขอบคุณที่ท่านมาใช้บริการและให้คำแนะนำแก่สถาบันฯ อยู่เสมอ และฝ่ายบริการผู้อ่านยินดีบริการช่วยค้นหาตัวเล่มให้ด้วยความเต็มใจอย่างยิ่ง จึงใคร่ขอให้คุณชมช่วยแจ้งชื่อหนังสือที่อ้างถึงมาที่หัวหน้าฝ่ายบริการผู้อ่าน โทรศัพท์ 0-2218-2934 หรือ e-mail : Benja.R@car.chula.ac.th หรือแจ้งชื่อ-นามสกุล จริงที่เคยกรอกแบบฟอร์มไว้ จะได้ติดตามเรื่องให้ได้ค่ะ

เบญจา รุ่งเรืองศิลป์
หัวหน้าฝ่ายบริการผู้อ่าน

23 กุมภาพันธ์ 2549
จาก http://www.cu-qa.chula.ac.th/suggest/sug_ans.asp?GID=1877

คำถาม      เป็นนิสิตที่เข้ามารับบริการจากสถาบันวิทยบริการเป็นประจำ และเข้าไปชมเวบไซต์ของสถาบันบ่อยมาก เดือนละหลายครั้ง ขอชมว่า การบริการของฝ่ายต่าง ๆ ในหอสมุดกลางก็ดี ของศูนย์ฯ ต่าง ๆ ก็ดี อยู่ในขั้นดีถึงถีมาก แต่อยากเรียนผู้เกี่ยวข้องในเรื่องข้อมูลทางเวบไซต์ของสถาบันและของฝ่ายต่าง ๆ ในสถาบันวิทยบริการว่า ข้อมูลบางส่วนของเวบไซต์ยังไม่เป็นปัจจุบัน สถาบันฯ เป็นหน่วยงานที่เป็นที่เชื่อถือของคนทั้งประเทศ ถ้าผู้รับผิดชอบในการนำเสนอข้อมูลทางเวบไซต์เห็นความสำคัญ น่าจะปรับข้อมูลให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ ตัวอย่างเช่น
(ณ วันที่ ๒๓ ม.ค.๔๙)
       - วันหยุดประจำปี จะสิ้นเดือนมกราคม ๒๕๔๙ แล้ว ยังไม่เปลี่ยนเลย ยังเป็นของปี ๒๕๔๘
       - สถิติน่ารู้ของฝ่ายบริการจ่าย-รับ ฯลฯ ยังเป็นของปี ๒๕๔๖ อยู่นะ น่าจะขยับมาอยู่ปี ๒๕๔๗ ก็ยังดี
       - รายชื่อหนังสือใหม่น่าจะน้อยเกินไป
       - ต้องชมว่าข้อมูลของศูนย์เอกสารประเทศไทย เช่นสถิติเป็นปัจจุบันดีมาก
              ฯลฯ
ขอเรียนให้ทางสถาบันวิทยบริการทราบว่า ที่เสนอแนะมานี้ ด้วยความรักในความเป็นจุฬาฯ แม้จะเป็นข้อปลีกย่อย เล็กน้อย แต่ถ้าผู้ดูแลเวบไซต์ปรับเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ จะเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจเป็นอันมาก

ขอบพระคุณ
โสมส่องแสง

คำตอบ       เรียน คุณโสมส่องแสง (ผ่านคุณกฤษณา) ขอบคุณที่ให้ความสนใจเว็บไซต์ของสถาบันวิทยบริการ และให้ข้อเสนอแนะมา ทางสถาบันฯ
ขอเรียนชี้แจงว่า ได้เปลี่ยนข้อมูลวันหยุดประจำปีแล้ว เมื่อวันที่ 25 มกราคมที่ผ่านมา แต่ต้องขออภัยที่ตอบช้าเกี่ยวกับความทันสมัยของข้อมูลสถิติฝ่ายบริการจ่าย-รับ ซึ่งจะได้ปรับปรุงต่อไป ขณะนี้ฝ่ายฯ กำลังอยู่ในระหว่างที่จะปรับปรุงหน้าเว็บใหม่ จึงต้องขอเวลาอีกระยะหนึ่งค่ะ

ปรางทิพย์ อิศรางกูรฯ
หัวหน้าฝ่ายบริการจ่าย-รับ

21 กุมภาพันธ์ 2549
จาก http://www.cu-qa.chula.ac.th/suggest/sug_ans.asp?GID=1854

คำถาม      ประทับใจกับการให้บริการรูปแบบใหม่ของหอสมุดกลางที่ให้นิสิตยืมหนังสือด้วยตนเองได้แล้ว ได้ลองใช้บริการแล้วค่ะ และมีข้อแนะนำในการให้บริการค่ะ ในการใช้เฉพาะบาร์โค๊ดที่อยู่หลังบัตรนิสิตเท่านั้นก็สามารถยืมหนังสือได้แล้วค่อนข้างเสี่ยงอยู่พอสมควร หากว่าผู้ที่ยืมหนังสือไปนั้นไม่ใช่เจ้าของบัตรตัวจริง ผู้อื่นอาจเก็บบัตรนิสิตมาใช้โดยที่เจ้าของบัตรไม่ทราบ หรือมีการถ่ายเอกสารเฉพาะบาร์โค๊ด ก็สามารถใช้บริการยืมหนังสือได้แล้ว จึงคิดว่าทางหอสมุดกลางน่าจะปรับปรุงอีกเล็กน้อยเช่นมีการใส่ password ควบคู่ไปด้วยกับการใช้บาร์โค๊ด ก็น่าจะเป็นการป้องกันได้อีกทางหนึ่งค่ะ ขอบคุณค่ะ

คำตอบ       เรียน คุณหนึ่งใจ ขออภัยที่ตอบช้า ฝ่ายบริการจ่าย-รับ ได้นำข้อเสนอของคุณหนึ่งใจ ไปปรึกษากับทางฝ่ายระบบสารสนเทศ ถึงวิธีการและความเป็นไปได้ ซึ่งอาจมีความเป็นไปได้ที่จะนำ password มาใช้ หรือใช้ระบบความปลอดภัยอื่น ๆ เกี่ยวกับการใช้บริการจากเครื่องยืมด้วยตนเอง ทั้งนี้ ฝ่ายที่รับผิดชอบจะได้ศึกษารายละเอียดร่วมกับบริษัทที่ผลิตซอฟต์แวร์ เพื่อเลือกวิธีการที่เหมาะสม
ในการนำมาใช้ต่อไปค่ะ

ปรางทิพย์ อิศรางกูรฯ
หัวหน้าฝ่ายบริการจ่าย-รับ

13 ธันวาคม 2548
จาก http://www.cu-qa.chula.ac.th/suggest/sug_ans.asp?GID=1806

คำถาม     
เรียน       ผู้รับผิดชอบสถาบันวิทยบริการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เรื่อง       การนำเสนอข้อมูลเว็บไซต์ที่น่าสนใจในส่วนของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย กรุณาแก้ใข สถานะของมหาวิทยาลัยทักษิณ ที่อยู่ในกลุ่มมหาวิทยาลัยเอกชนไปเป็นมหาวิทยาลัยรัฐด้วย เพราะข้อมูลที่ท่านเสนอมีความผิดพลาด เพราะสถานะของมหาวิทยาลัยทักษิณเป็นมหาวิทยาลัยรัฐ ที่ขึ้นกับสำนักงานการอุดมศึกษา เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยของท่าน หากไม่แน่ในในข้อมูลที่ให้นี้กรุณาตรวจสอบไปยังสำนักงานการอุดมศึกษาหรือสอบถามมหาวิทยาลัยทักษิณได้ (โปรดได้ทำความเข้าใจว่าชื่อทักษิณนี้หมายถึงภาคใต้ ไม่ใช้ชื่อนายกรัฐมนตรีนะครับ)

คำตอบ       เรียน คุณน้ำทิพย์ สถาบันวิทยบริการ ขอขอบคุณคุณน้ำทิพย์ ที่กรุณาทักท้วงเรื่อง ความผิดพลาดของข้อมูลที่สถาบันฯ นำเสนอผ่านเว็บไซต์
บัดนี้สถาบันฯ ได้แก้ไขข้อมูลดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า คุณน้ำทิพย์จะใช้บริการสถาบันฯ พร้อมให้คำแนะนำ
ต่างๆ ที่เป็นประโยชน์แก่สถาบันฯ ต่อไป

ชี้แจงโดย
คณะกรรมการประชาสัมพันธ์สถาบันวิทยบริการ

21 พฤศจิกายน 2548
จาก http://www.cu-qa.chula.ac.th/suggest/sug_ans.asp?GID=1797

คำถาม      ดิฉันเข้ามาค้นคว้า ที่ชั้น 5 เป็นประจำ เห็นว่า การวางโต๊ะอ่านหนังสือไม่เหมาะสม โต๊ะอ่านหนังสือควรหันด้านข้างซ้ายเข้าหาหน้าต่าง แสงจะได้เข้ามาถูกทิศทางค่ะ หวังว่า คงได้รับการแก้ไขนะคะ ส่วนการทำงานของเจ้าหน้าที่ในสถาบันฯ มีอัธยาศรัยไมตรีดีทุกคนค่ะ บริการได้ประทับใจดีมากค่ะ ขอบคุณค่ะ

คำตอบ       สถาบันวิทยบริการ มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ท่านมาใช้บริการของเราเป็นประจำ และขอขอบคุณที่กรุณาเสนอแนะเรื่อง การวางโต๊ะอ่านหนังสือไม่เหมาะสม คาดว่าคงจะหมายถึงโต๊ะอ่านหนังสือเดี่ยวริมหน้าต่าง ใช่หรือไม่? หากใช่ ท่านจะเห็นว่าทั้งชั้น 4 และ 5 เราได้จัดโต๊ะนั่งเดียวริมหน้าต่างเป็นแถวยาวตลอด แต่จะสลับกันครึ่งแถว คือ หันด้านซ้ายมือเข้าหาหน้าต่างครึ่งแถว ที่เหลืออีกครึ่งแถวหันด้านขวามือเข้าหาหน้าต่าง ที่จัดเช่นนั้น เพราะบริเวณห้องอ่านจะมีชั้นหนังสือเป็นจำนวนมาก ผู้ใช้ที่นั่งด้านริมหน้า
ต่างจะเป็นส่วนตัว แต่เสี่ยงต่อความปลอดภัยในทรัพย์สิน บ่อยครั้งพบว่าผู้ที่ทรัพย์สิน สูญหายจะเป็นผู้นั่งโต๊ะเดี่ยว การจัดให้หันสลับกัน เวลาเจ้าหน้าที่เดินอยู่ในพื้นที่ หรือ ผู้ใช้ด้วยกันเอง จะทำให้มองเห็นผู้ที่นั่งอยู่ทั้ง 2 ด้าน แทนที่จะเห็นแต่คอกไม้ปิดกั้นหมด
ซึ่งน่าจะเป็นผลดี ทำให้มิจฉาชีพไม่ค่อยกล้าลงมือ และไม่ส่งผลกระทบต่อความเป็นส่วนตัวให้ลดน้อยลงไป อย่างไรก็ดีจะได้ทบทวนการจัดอีกครั้ง ถ้าหากไม่ใช่บริเวณที่ท่านเสนอแนะ โปรดให้รายละเอียดที่ชัดเจนด้วย อาจแจ้งผ่านกล่องรับความคิดเห็นที่ชั้น 5 ของสถาบันฯ
ก็ได้ จักขอบคุณยิ่ง

เบญจา รุ่งเรืองศิลป์
หัวหน้าฝ่ายบริการผู้อ่าน

4 พฤศจิกายน 2548
จาก http://www.cu-qa.chula.ac.th/suggest/sug_ans.asp?GID=1762

คำถาม      ขอชื่นชมการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ทุกท่าน ฝ่ายบริการจ่าย-รับ และบริการระหว่างห้องสมุด หอสมุดกลาง สถาบันวิทยบริการ ที่มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีเยี่ยม รวดเร็ว ฉับไว ให้บริการที่ประทับใจมาก ขอให้รักษาความดีดุจเกลือรักษาความเค็ม ขอขอบคุณ...

คำตอบ       ฝ่ายบริการจ่าย-รับฯ สถาบันวิทยบริการ ขอขอบคุณอย่างยิ่งในคำชื่นชมบริการของฝ่ายฯ จากคุณพลอย ได้แจ้งให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนของทราบเพื่อเป็นกำลังในการปฏิบัติงานแล้วค่ะ

จาก
ปรางทิพย์ อิศรางกูรฯ หัวหน้าฝ่ายบริการจ่าย-รับ

3 พฤศจิกายน 2548

จาก http://www.cu-qa.chula.ac.th/suggest/sug_ans.asp?GID=1756

คำถาม      ตามที่ได้เสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับหนังสือจอง ว่าควรจัดหนังสือจองบางเล่ม ที่เก่าแล้วให้ออกไปเป็นหนังสือปกติ
ไม่ทราบว่าขณะนี้การดำเนินการอยู่ในระดับใดแล้ว ขอทราบความคืบหน้าด้วยครับ และอยากจะขอแนะนำหนังสือ
ที่ควรจัดออกจากหนังสือจองเช่น หนังสือ DOS ปัจจุบันโอเอสตัวนี้เลิกใช้ไปสิบปีแล้ว IE4 มีคนยืมครั้งสุดท้ายก็
เมื่อห้าปีก่อน Netware ระบบเครือข่ายตัวนี้หยุดพัฒนาไปนานแล้ว และขอทราบความคืบหน้าเกี่ยวกับเกณฑ์การ
ยืมหนังสือของบุคลากรในสายงานสนับสนุนวิชาการ (ครู นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์) ว่าสามารถยืมได้เท่าอาจารย์
หรือไม่อย่างไร ขอบคุณครับ

คำตอบ       สถาบันวิทยบริการ ขอขอบคุณ คุณชม วัฒนธรรม ที่ได้ให้ข้อเสนอแนะและติดตามเรื่อง หนังสือจอง ขณะนี้ฝ่าย
บริการผู้อ่านกำลังสำรวจรายการหนังสือจองอยู่ หากได้ดำเนินการในฐานข้อมูลห้องสมุด (Library Catalog)
เสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงจะนำตัวเล่มออกจากชั้นหนังสือจองต่อไป

ในส่วนของเกณฑ์การยืมหนังสือของบุคลากรสายสนับสนุน นั้น ฝ่ายบริการจ่าย-รับฯ จะขอนำเข้าเป็นวาระสืบเนื่อง
ในการประชุมคณะกรรมการประสานงานห้องสมุดฯ (Chulalinet) ต่อจากวาระการประชุมครั้งที่แล้ว ซึ่งจะมีขึ้น
ในกลางเดือนพฤศจิกายนนี้

ชี้แจงโดย
เบญจา รุ่งเรืองศิลป์ หัวหน้าฝ่ายบริการผู้อ่าน และ
ปรางทิพย์ อิศรางกูรฯ หัวหน้าฝ่ายบริการจ่าย-รับฯ

เพิ่มเติม       วันที่ 3 พฤศจิกายน 2548

1 พฤศจิกายน 2548
จาก http://www.cu-qa.chula.ac.th/suggest/sug_ans.asp?GID=1758

คำถาม      คือว่าจะสอบถามเกี่ยวกับ Blackboard ต้องติดต่อท่านใดค่ะ

คำตอบ       ที่สถาบันวิทยบริการ อาจารย์ผู้สอนและนิสิตสามารถติดต่อสอบถามเรื่อง Blackboard ดังมีรายนามลำดับดังนี้

  1. นายพรรษิษฐ์ สวัสดี
    โทร. 0-2218-2926
    e-mail: pansit.s@car.chula.ac.th
  2. นางสาวไข่มุกข์ พบถาวร
    โทร. 0-2218-2924
    e-mail: kaimook.p@car.chula.ac.th
  3. นางสาวสายฝน เต่าแก้ว
    โทร. 0-2218-2923
    e-mail: saifon.t@car.chula.ac.th

ชี้แจงโดย
ศุภลักษณ์ จันทรารักษ์ศรี หัวหน้าฝ่ายระบบสารสนเทศ

28 กันยายน 2548
จาก http://www.cu-qa.chula.ac.th/suggest/sug_ans.asp?GID=1718

คำถาม      เรียนสถาบันวิทยบริการ ขอแสดงความเห็นเกี่ยวกับหนังสือจอง จริงอยู่ว่ามีหนังสือใหม่ ๆ มีความต้องการเยอะ จึงจัดแยกใว้เป็นประเภทพิเศษ แต่จากประสบการณ์ที่เคยไปยืมหนังสือพบว่า มีหนังสือเก่า บางเล่มยังเป็นหนังสือจอง ทั้ง ๆ ที่เทคโนโลยีนั้นมันตกยุคไปแล้ว ควรคัดออกมาจากหนังสือจองนะครับ โดยเฉพาะหนังสือกลุ่มคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี ว่ามีการยืมบ้างหรือไม่ ถ้าไม่มีก็แยกออกมาเสีย จะได้สามารถยืมได้โดยไม่จำกัดเวลาว่าหนึ่งอาทิตย์ มีข้อสังเกตุอีกประาการหนึ่งว่า อาจารย์จะสามารถยืมหนังสือได้จำนวนเล่มมากกว่าบุคลากรทั่วไป เสนอว่า กลุ่มบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนวิจัย เช่น นักวิจัย ครู นักวิทยาศาสตร์ ก็ควรยืมหนังสือได้จำนวนเท่ากับอาจารย์ครับ

คำตอบ       เรียน คุณชม วัฒนธรรม สถาบันวิทยบริการ ขอรับความคิดเห็นทั้งสองเรื่องดังนี้
                   เรื่อง หนังสือจอง ฝ่ายบริการจ่าย-รับฯ จะประสานงานกับฝ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป
                   เรื่อง จำนวนหนังสือที่ให้บุคลากรประเภทต่างๆ ยืม ฝ่ายฯ จะนำไปพิจารณาร่วมกับห้องสมุดต่างๆ เนื่องจากเป็นระเบียบการยืมกลางของเครือข่ายห้องสมุดในจุฬาฯ ค่ะ

ปรางทิพย์
หัวหน้าฝ่ายบริการจ่าย-รับฯ

ขอเพิ่มเติมค่ะ - ผู้อำนวยการสถาบันวิทยบริการ ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานระหว่างห้องสมุดมหาวิทยาลัยจะแจ้งให้กรรมการจากห้องสมุดทุกคณะ สถาบัน ศูนย์ วิทยาลัยในเครือข่ายารจุฬาลิเน็ต ได้รับทราบคิดเห็นทั้งสองเรื่องข้างต้นโดยจะนำเข้าวาระในที่ประชุมเร็วๆ นี้

เรืองศรี
QMR สถาบันฯ

20 กันยายน 2548
จาก http://www.cu-qa.chula.ac.th/suggest/sug_ans.asp?GID=1699

คำถาม      ขอชมหอสมุดกลาง เดี๋ยวนี้จัดระบบดีมาก ห้องน้ำก็ดีขึ้น บริการถ่ายเอกสารก็มีระบบดี เจ้าหน้าที่ก็ให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และที่ดีที่สุดคือการขยายเวลา ให้ปิดดึกขึ้น และให้คืนหรือยืมหนังสือได้ดึกมากขึ้น อะไรๆก็ดี แต่ก็อดที่จะขอความสะดวกเพิ่มหน่อย คืออยากให้มีบริการคืนหนังสือนอกห้องสมุดได้ (เฉพาะที่ไม่เกินกำหนด) เช่นมีกล่องตั้งไว้ตามที่ต่างๆ หรือมีช่องให้หยอดหนังสือลงได้เมื่อหอสมุดปิดแล้ว) ขอบคุณเว็บไซต์นี้ด้วยที่เปิดให้แสดงความเห็น

เพิ่มเติม    เห็นด้วยครับดีทุกอย่าง แต่ค่าปรับหนังสือโหดเหลือเกิน หนังสือที่ติดแถบ วันละ 30 บาท แถม staff ยืมได้อาทิตย์เดียว กับที่อื่น ๆ ยืมได้เป็นเทอมเลยนะครับ เนื่องจาก staff ไม่ได้มีเวลามากนัก อาทิตย์เดียว ยืมไป ทำงานลืมคืน โดนปรับอานเลย น่าจะเห็นใจกันหน่อย หนังสือคอมพ์ด้วย รู้สึกมีแต่เก่า ๆ น่าจะหาที่ทันสมัยหรือ textbook ที่อัพเดตหน่อยครับ

คำตอบ       เรื่อง ขอความสะดวกเพิ่ม อยากให้มีบริการคืนหนังสือนอกห้องสมุดได้ (เฉพาะที่ไม่เกินกำหนด) เช่น มีกล่องตั้งไว้ตามที่ต่างๆ หรือมี ช่องให้หยอดหนังสือลงได้ เมื่อหอสมุดปิดแล้ว นั้น เป็นบริการที่อยู่ในแนวคิดของสถาบันฯ เช่นกัน จะได้พิจารณาดำเนินการตามความเหมาะสมในเรื่องของตู้คืนรับหนังสือนี้ต่อไป
                  เรื่อง ค่าปรับหนังสือโหดเหลือเกิน หนังสือที่ติดแถบ วันละ 30 บาท แถม staff ยืมได้อาทิตย์เดียว เรียนชี้แจงเรื่องค่าปรับและระยะเวลาในการให้ยืมหนังสือดังนี้ ค่าปรับหนังสือทั่วไปของห้องสมุด คือ วันละ 3 บาท และ Staff ยืมได้ 1 เดือน ยืมต่อได้ 1 ครั้ง ในระยะเวลาเท่าเดิม โดยขอยืมต่อในวันกำหนดส่ง หรือก่อนหน้านั้นไม่เกิน 3 วัน แต่จะยืมต่อไม่ได้ในกรณีที่เกินกำหนดส่งหรือมีผู้ใช้อื่นขอจองใช้อยู่ก่อนแล้ว ส่วนหนังสือที่แจ้งว่าค่าปรับราคาสูงถึง 30 บาท นั้น เป็นหนังสือ Collection พิเศษ ที่เรียกว่าหนังสือจอง หรือ Reserved Book ซึ่งเป็นหนังสือที่มีผู้ใช้มาก ราคาสูง รวมทั้งเหตุผลอื่น ๆ ที่ต้องกำหนดให้หนังสือดังกล่าวถูกจัดแยกให้บริการเป็นพิเศษ หนังสือประเภทนี้ได้กำหนดให้มีระยะเวลาการยืมของผู้ใช้ทุกประเภทสั้นกว่าหนังสือทั่วไป คือ 1 สัปดาห์ เพื่อหมุนเวียนให้ผู้ใช้อื่นได้มีโอกาสใช้เร็วขึ้น และทั่วถึงมากขึ้น
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ และขอขอบคุณที่ชื่นชมระบบบริการของสถาบันฯ พร้อมให้ความคิดเห็นมา ณ ที่นี้

เรืองศรี / ปรางทิพย์
QMR / หัวหน้าฝ่ายบริการจ่าย-รับและบริการพิเศษ

15 กันยายน 2548

จาก http://www.cu-qa.chula.ac.th/suggest/sug_ans.asp?GID=1494

เพิ่มเติม สืบเนื่องจากข้อเสนอแนะเรื่องการให้บริการ ณ CU Cyber Zone บัดนี้ ขอแจ้งให้ทราบว่า เพื่อให้การบริการของ CU Cyber Zone เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการศึกษาค้นคว้า และจำนวนเครื่องเพียงพอต่อการใช้งาน จึงขอปรับปรุงการให้บริการ โดยให้บริการเฉพาะ อาจารย์ นิสิต และบุคลากรจุฬาฯ เท่านั้น สำหรับนักเรียนสาธิตจุฬาฯ โปรดใช้บริการ อินเทอร์เน็ตที่โรงเรียนของท่าน ตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม 2548 เป็นต้นไป จึงขอขอบคุณในความร่วมมือของทุกท่าน มา ณ ที่นี้ด้วย

และขอประชาสัมพันธ์เพิ่มเติมว่าได้ให้บริการเครื่องพิมพ์เพื่อประโยชน์ในการศึกษาค้นคว่า ณ CU Cyber Zone มาได้ระยะหนึ่งแล้ว
โดยผู้ใช้บริการต้องจ่ายค่าพิมพ์ที่เคาน์เตอร์ยืม-คืน หนังสือ หากมีการปรับเปลี่ยน
กระบวนการเพื่ออำนวยความสะดวกเพิ่มขึ้น จะแจ้งให้ทราบต่อไป

เรืองศรี / เบญจา
QMR / หัวหน้าฝ่ายบริการผู้อ่าน

 

จาก http://www.cu-qa.chula.ac.th/suggest/sug_ans.asp?GID=1664

คำถาม      เรียนผู้ที่เกี่ยวข้อง
วันนี้ (วันเสาร์ที่ 3 กันยายน 2548) ดิฉันเข้าไปใช้บริการที่ห้องสมุดกลาง และเวลาประมาณ 13.00 น ดิฉันได้ไปเข้าห้องน้ำหญิงชั้นิ 5 หลังจากทำธุระเสร็จดิฉันก็ออกมาล้างมือ ซึ่งขณะนั้นมีพนักงานทำความสะอาด 1 คน กำลังทำความสะอาดห้องน้ำอยู่ ดิฉันก็ไม่ได้สนใจอะไร จึงยังยืนอยู่ในห้องน้ำเพื่อจัดของในกระเป๋าต่อ จากนั้นจึงเดินออกจากห้องน้ำ ซึ่งพอดิฉันเดินพ้นประตูและกำลังจะเอื้อมมือไปปิดประตู พนักงานคนดังกล่าวก็ปิดประตูกระแทกตามหลังทันที เสียงดังมากขอเน้นว่าเขาตั้งใจปิดประตูกระแทกใส่ดิฉัน ดิฉันถือว่าเป็นการดูถูกอย่างมาก เพราะดิฉันเรียนที่จุฬาฯ ตั้งแต่ปริญญาตรี และตอนนี้ดิฉันกำลังเรียนปริญญาเอกอยู่ได้รับการปลูกฝังมาตลอดว่านิสิตจุฬาฯ มีเกียรติ และศักดิ์ศรี แต่การที่ดิฉันโดนนั้น แสดงว่า นิสิตจุฬาฯ ไร้เกียรติ และศักดิ์ศรีและถ้าเป็นบุคคลภายนอกมาพบว่าพนักงานที่
ทำงานอยู่ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไร้มารยาทเขาก็คงอนุมานได้ว่านิสิตจุฬาฯ ก็คงไร้มารยาทเช่นเดียวกันดิฉันอยากให้ผู้ที่เกี่ยวข้องช่วยตักเตือน หรือลงโทษพนักงานคนดังกล่าวด้วย อย่าปล่อยให้เรื่องนี้ผ่านไปเพียงเพราะว่าดิฉันเป็นแค่นิสิดไม่ใช่อธิการบดี ดิฉันยินดีให้รายละเอียดเพิ่มเพิ่มถ้าต้องการ

ขอแสดงความนับถือ
สมฤดี

คำตอบ       สถาบันวิทยบริการ ได้สอบสวนในเบื้องต้นแล้ว พบว่า พนักงานทำความสะอาดในชั้น 5 ได้ประพฤติตนไม่เหมาะสมตามที่ได้รับการร้องเรียนจริง จึงแจ้งให้บริษัทพลัส พร็อพเพอร์ตี้ พาร์ทเนอร์ จำกัด ซึ่งรับผิดชอบดูแลการบริการทำความสะอาดภายในสถาบันฯ พิจารณาด่วน บัดนี้ บริษัทได้สั่งย้ายพนักงานคนดังกล่าว ออกจากพื้นที่ของสถาบันฯ แล้ว ตั้งแต่วันที่ 13 กันยายน 2548

จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ และขออภัยมา ณ ที่นี้
เรืองศรี / สุภัทรียา
QMR / เลขานุการสถาบันฯ

9 กันยายน 2548
จาก http://www.cu-qa.chula.ac.th/suggest/sug_ans.asp?GID=1668

คำถาม      การใช้ Online วิทยานิพนธ์ เปิดค้นคว้า Fulltext เป็นประโยชน์ต่อนิสิตมาก แต่ขาดประโยชน์เพราะ copy ไม่ได้ก็ไม่เป็นไรค่ะ เพราะอาจจะเป็นลิขสิทธ์ แต่ก็ควรจะให้ Print ได้นะคะ เพราะ

ถ้าเป็นไปได้กรุณาอนุญาตให้ Print จะทำให้การ Online เกิดประโยชน์กับนิสิตมากขึ้นค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

คำตอบ       ตามที่คุณพัตราภรณ์ ได้มีข้อร้องเรียนและเสนอแนะเรื่องการใช้วิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ นั้นสถาบันวิทยบริการ ขอเรียนชี้แจงว่า สมาชิกในประชาคมจุฬาฯ สามารถ copy วิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ได้ แต่พิมพ์ไม่ได้ค่ะ การ copy สามารถทำได้โดยใช้คำสั่ง save a copy จากโปรแกรม Acrobat ค่ะ


เรืองศรี / สุภาพร
QMR / บรรณารักษ์ชำนาญการ ฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ

10 มิถุนายน 2548
จาก http://www.cu-qa.chula.ac.th/suggest/sug_ans.asp?GID=1494

คำถาม      อยากจะเสนอว่า บริการอินเตอร์เนต ภายในศูนย์วิทยบริการ ไม่ควรที่จะให้ บุคคลอื่นซึ่งไม่ใช่นิสิตจุฬามาใช้บริการ เช่น ลูกหลานของเจ้าหน้าที่ห้องสมุด ซึ่งเป็นเด็กผู้ชายที่ใช้คอมพิวเตอร์สำหรับเล่นเกมส์และส่งเสียงดัง ซึ่งเป็นการควบคุมได้ยาก และส่งผลเสียมากมาย คือ ผู้ใช้อินเตอร์เนตคนอื่น ๆ ถูกรบกวน ไม่มีสมาธิในการทำงาน และเป็นการแย่งที่ การใช้อืนเตอร์เนตของนิสิตอีกมากมาย ซึ่งมีเรื่องรีบด่วนจำเป็นต้องใช้ อยากจะให้ทางห้องสมุดเข้มงวดตรงจุดนี้ให้มาก อยากจะให้มีมาตรการดำเนินการควบคุมให้เร็วที่สุด เพื่อที่นิสิตจุฬาจะสามารถใช้บริการคอมพิวเตอร์ที่ได้เสียเงินค่าบำรุง ได้อย่างเต็มที่

คำตอบ       สถาบันวิทยบริการขอขอบคุณที่คุณ “นิสิตจุฬา“ สนใจมาใช้บริการอินเทอร์เน็ตที่สถาบันฯ อยู่เสมอ และได้ให้ข้อคิดเห็นผ่านเสียงแห่งการพัฒนาและสร้างสรรค์ ซึ่งสถาบันฯ ขอเรียนชี้แจงว่า CU Cyber Zone มีนโยบายให้บริการเฉพาะประชาคมจุฬาฯ อยู่แล้ว และนักเรียนสาธิตจุฬาฯ เป็นส่วนหนึ่งในประชาคมจุฬาฯ รวมทั้งลูกหลานของบุคลากรทั้งของสถาบันฯ และหน่วยงานอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยล้วนเป็นนักเรียนสาธิตจุฬาฯ ทั้งสิ้น เด็กๆ จะมาใช้บริการมาก โดยเฉพาะในช่วงปิดเทอมและเวลาหลังเลิกเรียนแล้ว โดยขอใช้บริการตามระเบียบเหมือนกับนิสิต ซึ่งผู้ให้บริการได้พยายามตักเตือนเรื่องการใช้เสียงอยู่ตลอดเวลา มีการขอความร่วมมือกับผู้ปกครองที่เรารู้จัก หากตรวจสอบพบว่าเล่นเกมคอมพิวเตอร์ ผู้ให้บริการจะยุติการใช้งานในช่วงเวลา นั้นทันที แต่ยอมรับว่าเป็นการควบคุมที่ยาก จึงขอนำข้อคิดเห็นของท่านเสนอผู้บริหารของสถาบันฯ เพื่อพิจารณาการจัดบริการนี้ต่อไป

ชี้แจงข้อมูลโดย
เบญจา รุ่งเรืองศิลป์
หัวหน้าฝ่ายบริการผู้อ่าน

เพิ่มเติม       วันที่ 15 กันยายน 2548

สืบเนื่องจากข้อเสนอแนะเรื่องการให้บริการ ณ CU Cyber Zone บัดนี้ ขอแจ้งให้ทราบว่าเพื่อให้การบริการของ CU Cyber Zone เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการศึกษาค้นคว้า และจำนวนเครื่องเพียงพอต่อการใช้งาน จึงขอปรับปรุงการให้บริการ โดยให้บริการเฉพาะอาจารย์ นิสิต และบุคลากรจุฬาฯ เท่านั้น สำหรับนักเรียนสาธิตจุฬาฯ โปรดใช้บริการอินเทอร์เน็ตที่โรงเรียนของท่าน ตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม 2548 เป็นต้นไป จึงขอขอบคุณในความร่วมมือของทุกท่าน มา ณ ที่นี้ด้วย และขอประชาสัมพันธ์เพิ่มเติมว่าได้ให้บริการเครื่องพิมพ์เพื่อประโยชน์ในการศึกษาค้นคว่า ณ CU Cyber Zone มาได้ระยะหนึ่งแล้ว โดยผู้ใช้บริการต้องจ่ายค่าพิมพ์ที่เคาน์เตอร์ยืม-คืน หนังสือ หากมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการเพื่ออำนวยความสะดวกเพิ่มขึ้น จะแจ้งให้ทราบต่อไป

เรืองศรี / เบญจา
QMR / หัวหน้าฝ่ายบริการผู้อ่าน

13 พฤษภาคม 2548 (เพิ่มเติมจากวันที่ 1 เมษายน 2548)
จาก http://www.cu-qa.chula.ac.th/suggest/sug_ans.asp?GID=1397

คำถาม      ความคิดเห็นจากคุณ พนักงาน เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2548

เข้าใจว่าหนังสือเล่มใหม่ๆ ส่วนใหญ่ห้องสมุดคณะจะซื้อเป็นประจำอยู่แล้ว แต่เห็นด้วยว่าหนังสือที่หอกลางบางสาขานี่เก่าจริง ๆ ส่วนตัวกำลังคิดว่าจะมอบหนังสือ textbooks ที่มีอยู่ส่วนตัว ให้ห้องสมุดกลาง เผื่อจะมีคนได้ใช้ประโยชน์มากขึ้น เก่าประมาณปี 1993 -2000 แต่สภาพใหม่เอี่ยม อยากทราบว่าสถาบันวิทยบริการจะรับหรือไม่ หรือจะมีข้อกำหนดอายุว่าเกินกี่ปีแล้วจะไม่รับ กรุณา ชี้แจงไว้ที่นี่ด้วยนะคะ

คำตอบ       ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ หอสมุดกลาง ขอตอบชี้แจงดังนี้

หอสมุดกลาง สถาบันวิทยบริการ ยินดีรับหนังสือบริจาค โดยขอเน้นสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ทั่วไป และสหสาขาวิชา หากหนังสือที่ได้รับมาเป็นสาขาที่เฉพาะเจาะจงมาก จะขออนุญาตบริจาคต่อให้กับห้องสมุดอื่นตามความเหมาะสม

สำหรับอายุของหนังสือ ไม่สามารถที่จะระบุได้ว่าเกินกี่ปีที่จะไม่รับ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเนื้อหาของหนังสือนั้น ๆ เช่น ถ้าเป็นหนังสือด้านคอมพิวเตอร์ จะขอรับเฉพาะปีปัจจุบัน

หากคุณ "พนักงาน" ต้องการบริจาคหนังสือตำรา ติดต่อได้ที่ ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ หอสมุดกลาง โทร. 02-2182921- 3 ค่ะ

ชี้แจงข้อมูลโดย
สายฝน เต่าแก้ว
บรรณารักษ์ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สถาบันวิทยบริการ

21 เมษายน 2548
จาก http://www.cu-qa.chula.ac.th/suggest/sug_ans.asp?GID=1421

คำถาม      เนื่องจากมีปัญหาว่า ทำไมนิสิตที่ไม่ได้เรียนภาคฤดูร้อนไม่สามารถยืมหนังสือจากหอกลางได้ เพราะว่าอยากอ่านหนังสือตอนปิดภาคเรียน

คำตอบ       หอสมุดกลางขอเรียนชี้แจงว่า สมาชิกทุกประเภทสามารถยืมหนังสือได้โดยตลอด ยกเว้นในช่วงที่ห้องสมุดมีการทวงหนังสือเท่านั้น ดังนั้น สมาชิกมีสิทธิ์ยืมหนังสือได้ตามปกติในภาคฤดูร้อน โดยจะต้องต่ออายุสมาชิก พร้อมแนบหลักฐานในการต่ออายุสมาชิก ได้แก่

ชี้แจงโดย
นงนุช กาญจนรุจี
บรรณารักษ์ฝ่ายบริการจ่าย-รับฯ หอสมุดกลาง สถาบันวิทยบริการ

8 เมษายน 2548
จาก http://www.cu-qa.chula.ac.th/suggest/sug_ans.asp?GID=1408

คำถาม      ขอเรียนถามผู้เกี่ยวข้องว่า ในกรณีที่มีผู้ไม่ประสงค์ดี ได้ใช้computer จุฬา/ในหอกลาง IP address 161.200.146.32 : : วันที่ 5/4/48 เวลา 16.37.27 เพื่อตอบกระทู้ในwebboard ศิษย์เก่า ใช้ถ้อยคำไม่สุภาพ วิจารณ์ผู้อื่นในทางเสียหาย โดยแอบอ้างลงชื่อผู้อื่นแทนตนเอง ทางจุฬาสามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ใช้บริการหอกลาง หรือcomputer IP ดังกล่าว ในวันเวลาข้างต้นได้หรือไม่ เพื่อเป็นการกำจัดพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ อันจะส่งผลเสียหายต่อชื่อเสียงคณะและมหาวิทยาลัยต่อไป

ข้อเสนอแนะ ** ในกรณีที่มีการเล่น internet โดยใช้computer ในหอกลางหรือในจุฬา ตามคณะต่างๆ ควรมีการตรวจบัตรนิสิตและให้ลงชื่อของผู้เล่นcomputerทุกครั้ง เพื่อป้องกันการแอบอ้างชื่อผู้อื่นในการทำพฤติกรรมในทางลบแบบนี้อีก

คำตอบ       สถาบันวิทยบริการ ขอชี้แจงการตรวจสอบเลข IP 161.200.146.32 ซึ่งดำเนินการโดยฝ่ายระบบสารสนเทศ ได้พบว่า เลข IP ที่ผู้ใช้แจ้งมานั้น เป็นเลข IP ที่ฝ่ายระบบฯ ได้จัดให้ใช้ในบริเวณ Cyber Zone ชั้น 2 ซึ่ง
เป็นเลข IP ที่แจกให้แต่ละเครื่องแบบ Dynamic IP กล่าวคือ ไม่ได้ประจำเครื่องใดเครื่องหนึ่งเป็นพิเศษ เช่น
เช้าวันที่ 7 เม.ย. เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ได้เลข IP 161.200.146.32 เป็นเลขของเครื่อง Cyber14 ฝ่ายระบบฯ
จึงได้ประสานงานกับฝ่ายบริการผู้อ่าน และได้ข้อมูลสรุปได้ดังนี้

ชี้แจงโดย
ฝ่ายระบบสารสนเทศ และ
ฝ่ายบริการผู้อ่าน

1 เมษายน 2548
จาก http://www.cu-qa.chula.ac.th/suggest/sug_ans.asp?GID=1397

คำถาม      อยากให้ท่านอธิการบดีและผู้บริหารมหาวิทยาลัย ปรับปรุงหอสมุดของเราด้วยครับ ทุกวันนี้หอสมุดอื่นๆของภาครัฐเค้าปรับปรุงดีมากเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งห้องสมุดตลาดหลักทรัพย์จัดบรรยากาศได้ดีมาก เปิดทุกวันไม่มีวันหยุด แปดโมงถึงห้าทุ่ม หนังสือก็ครบครัน อนุญาตให้ทานกาแฟได้ บรรยากาศเหมาะแก่การอ่านหนังสือมากๆ ปัจจุบันคนไปอ่านกันเยอะมากคับจนที่ไม่ค่อยว่าง ผมเห็นน้องๆนิสิตก็ไปอ่านกันเยอะครับ นี่แสดงว่าความต้องการของผู้ใช้ห้องสมุดน่าจะพอใจกับห้องสมุดในรูปแบบนี้นะครับ นอกจากห้องสมุดตลาดหลักทรัพย์แล้วศูนย์การเรียนรู้แห่งชาติที่เซ็นทรัลเวิร์ลดพลาซ่า ก็จัดบรรยากาศได้ดีสร้างให้เด็กมีจินตนาการและนวัตกรรมทางความคิดนะครับ ผมว่าถ้ามหาวิทยาลัยเราปรับปรุงให้ห้องสมุดดีขึ้นและรองรับความต้องการของนิสิตมากขึ้นจะทำให้นิสิตหันมาอ่านหนังสือ และค้นคว้าข้อมูลทางวิชาการ เพื่อพัฒนาตนเองกันมากขึ้นครับ ถ้าเป็นอย่างนั้นจริงคุณภาพของบัณฑิตน่าจะดีขึ้นและแตกต่างจากบัณฑิตของสถาบันอื่นมากขึ้น ผมเข้าใจว่าการปรับปรุงการให้บริการดังกล่าวต้องใช้เงินทุนมากทั้งในการปรับปรุงครั้งแรก ค่าไฟ ค่าจ้างบุคคลากรเพิ่ม แต่ทั้งนี้อยากให้มองผลประโยชน์ที่จะตามมาครับ ผมเชื่อว่าถ้าเรามีที่ดีๆอย่างนี้ให้นิสิต คงมีนิสิตเข้ามาใช้บริการในยามว่าง แทนที่จะไปเดินเล่นที่สยามหรือทำกิจกรรมอื่นๆที่ไม่มีประโยชน์มากขึ้นครับ ขอบพระคุณครับ

คำตอบ       สถาบันวิทยบริการขอชี้แจง comments & suggestions ของนิสิตเก่า ตลอดจน 'อาจารย์เก๋า' ซึ่ง ปรากฏที่ http://www.cu-qa.chula.ac.th/suggest/sug_ans.asp?GID=1397 ดังนี้

สถาบันวิทยบริการ ขอขอบคุณทุกท่านที่ได้ให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาและปรับปรุงบรรยากาศและการให้บริการ แบบใหม่ๆ รวมทั้งการจัดหาหนังสือวิทยาศาสตร์ ตลอดจนการสนับสนุนบริการ Questions & Answers

สถาบันฯ ขอเรียนให้ทราบว่า สถาบันฯ ได้รับงบประมาณ ปี 2548 เพื่อปรับปรุงระบบสาธารณูปโภค
และได้วางแผนอย่างต่อเนื่องในปีงบประมาณ 2549-2550 เพื่อปรับปรุงระบบกายภาพ่องภายในอาคาร
พร้อมขยายเวลาการให้บริการ เพื่อรองรับการเป็น ห้องสมุดทางวิชาการที่มีชีวิต (Living Academic
Library)

เรื่องหนังสือสาขาวิทยาศาสตร์เก่า ขอชี้แจงว่า หอสมุดกลางต้องจัดซื้อหนังสือกระจายในหลายสาขา รวมทั้งต้องบอกรับ/จัดหาสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วย ดังนั้น ในแต่ละสาขาก็อาจจะไม่สามารถซื้อได้เป็น
จำนวนมาก อย่างไรก็ตาม จะขอความร่วมมือจากคณาจารย์ในการเสนอแนะหนังสือที่น่าสนใจมา
มากๆ หอสมุดกลางจะได้มีทรัพยากรที่ทันสมัย มีคุณค่า ตรงกับความต้องการ โดยจะพยายายาม
จัดหาและจัดสรรงบประมาณเพื่อซื้อหนังสือเพิ่มขึ้น มีความร่วมมือระหว่างห้องสมุดในจุฬาฯ และ
ขอเชิญชวนว่านอกจากหนังสือสิ่งพิมพ์แล้ว ลองใช้ฐานข้อมูลต่างๆ ด้วย สถาบันฯ มีฐานข้อมูลทาง
ด้านวิทยาศาสตร์และอื่น ๆ ที่ดี ๆ หลายฐาน เช่น SciFinder, ScienceDirect และ Science
Citation Index Expanded เป็นต้น หรือฐานข้อมูล ebrary ซึ่งรวมหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สหสาขา
เข้าใช้ได้ที่ http://www.car.chula.ac.th/curef-db

เรื่องข้อแนะนำจากท่าน "อาจารย์เก๋า" นั้น ผู้อำนวยการสถาบันฯ รับทราบ ส่วน Questions &
Answers หรือที่ท่านเรียกว่า Comments & Suggestions (*) นั้น สถาบันฯ ยังคงมีบริการ
นี้ตลอดมา เริ่มจากกล่องรับความคิดเห็น สู่บอร์ดคำถาม-คำตอบ แล้วนำขึ้นที่เว็บคิวเอ
ของสถาบันฯ สามารถอ่านข้อเสนอแนะย้อนหลังจากปี 2545 ได้ที่
http://www.car.chula.ac.th/qa-web/q-a-from-board/qa_archive.html

ชี้แจงข้อมูลโดย
เลขานุการสถาบันฯ
หัวหน้าฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ และ
QMR

(*) สถาบันฯ เคยจัดการประกวดข้อเขียนเชิงสร้างสรรค์ "คุณภาพบริการ สถาบันวิทยบริการ"
1 ครั้ง ในปี 2545 อ่านได้ที่ http://www.car.chula.ac.th/qa-web/Activities/Create-Win.html

8 กุมภาพันธ์ 2548
จาก http://www.cu-qa.chula.ac.th/suggest/sug_ans.asp?GID=1333

คำถาม      จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกำลังปรับปรุงตัวเข้าสู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการวิจัย แต่ทำไมไม่สามารถดึง paper ออนไลน์ จาก journal ต่างประเทศได้เท่าที่ควร โดยเฉพาะ journal ซึ่งอาจารย์/นิสิตต้องอ่านและใช้ในการวิจัยอย่างแพร่หลาย เช่น Sciences,Nature อยากให้จุฬาเห็นความสำคัญของการดึง journal เหล่านี้มาอ่านได้ ยกตัวอย่างเช่น ห้องสมุดสตางค์ ของคณะวิทยาศาสตร์มหิดล ซึ่งสามารถดึง paper ได้เกือบทุก journal การอ่าน paper เหล่านี้สำคัญอย่างมากที่จะนำมาทำวิจัย ทั้งคณะวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์การแพทย์ต้องใช้อ่านทั้งนั้น ดังนั้น จึงขอความกรุณาให้ทางมหาวิทยาลัยนำเรื่องนี้พิจารณาด้วย เพื่อสมกับนโยบายที่จะให้จุฬาเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการวิจัยโดยแท้จริง

คำตอบ       ขอขอบคุณทุกๆ ท่านที่ได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับฐานข้อมูลและวารสารอิเล็กทรอนิกส์ในเครือข่ายจุฬาลิเน็ต

สถาบันวิทยบริการ ขอเรียนชี้แจงว่า รายชื่อวารสารวิชาการออนไลน์ อาทิ Nature หรือ Science สามารถตรวจสอบเพื่อการเข้าใช้ได้จาก EBSCO A-to-Z ซึ่งสถาบันฯ จัดซื้อมาเพื่อเป็น one stop service ที่ http://www.car.chula.ac.th/curef-db/slist.html#general โดยสถาบันฯ เป็นผู้ประสานงานกับห้องสมุดคณะ/สถาบัน ในการจัดหาฐานข้อมูลและวารสารสหสาขาจาก Aggregator Databases เนื่องจากแต่ละคณะ/สถาบันได้รับจัดสรรงบประมาณในการจัดหาสื่อสิ่งพิมพ์/สื่ออิเล็กทรอนิกส์สาขาฉพาะต่างหาก

ปัจจุบัน ประชาคมจุฬาฯ สามารถเข้าใช้ฐานข้อมูลในเครือข่ายจุฬาลิเน็ต ที่บอกรับผ่านสถาบัน/ คณะ ทั้งหมด 39 ฐาน (หรือรวม 130 ฐานย่อย) เป็นฐานที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) บอกรับ 7 ฐานฯ โดยจุฬาฯ บอกรับ 32 ฐาน ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ เพื่อให้ครอบคลุมทุกสาขาวิชาที่มีการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย

ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยมหิดลบอกรับ 25 ฐาน ดังรายละเอียดที่ http://www.li.mahidol.ac.th/library/databases.html หรือที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บอกรับ 21 ฐาน ที่ http://www.lib.ku.ac.th/reference_DB.html นับได้ว่าจุฬาฯ เป็นสถาบันฯ หนึ่งในประเทศไทยที่บอกรับฐานข้อมูลมากที่สุด 32 ฐาน แต่หากเปรียบเทียบเฉพาะวารสารอิเล็กทรอนิกส์จากสำนักพิมพ์ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับมหิดล ที่เน้นบอกรับฐานข้อมูลทางด้านนี้มากที่สุดแล้ว จุฬาฯ ย่อมบอกรับวารสารทางด้านนี้น้อยกว่า แต่ฐานชื่อสำคัญ เช่น ACS (American Chemical Society), SpringerLINK, MD Consult (มีให้บริการที่คณะแพทยศาสตร์) ทางจุฬาฯ ก็มีให้บริการ นอกจากนี้ สถาบันฯ ได้บอกรับวารสารอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นทุกปี ในปี 2548 สถาบันวิทยบริการจะบอกรับฐานใหม่ 4-5 ฐาน เช่น SciFinder, Blackwell Synergy ฯลฯ และขณะนี้กำลังทดลองใช้ Nature, Annual Reviews และอื่น ๆ จึงขอเชิญชวนคณาจารย์และนิสิตทดลองใช้และเสนอแนะมาได้ที่ curef@car.chula.ac.th

สำหรับฐานข้อมูลที่ สกอ. บอกรับให้นั้น (ปี 2547 บอกรับ 6 ฐาน ปี 2548 บอกรับ 7 ฐาน) ส่วนใหญ่จุฬาฯ เคยบอกรับมาก่อน ทั้งนี้ ScienceDirect ซึ่ง สกอ. ได้บอกรับให้ 24 มหาวิทยาลัย/สถาบันของรัฐ สถาบันวิทยบริการ ได้บอกรับ Backfile Collections เพิ่มเติมในสาขาบริหารกิจ สังคมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และสาขาชีวเคมี พันธุกรรมศาสตร์ และชีวโมเลกุล เพื่อประชาคมจุฬาฯ สามารถใช้วารสารออนไลน์สาขาดังกล่าวย้อนหลังได้ตั้งแต่ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 ถึงปีปัจจุบัน

การให้บริการฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในเครือข่ายจุฬาลิเน็ต อาจจะสนองความต้องการของประชาคมจุฬาฯ ได้ไม่สมบูรณ์ด้วยข้อจำกัดหลาย ๆ ด้าน อย่างไรก็ตาม สถาบันฯ จะพยายามแสวงหาความร่วมมือและใช้กลวิธีต่าง ๆ เพื่อให้ประชาคมจุฬาฯ สามารถใช้ฐานข้อมูลทางวิชาการเฉพาะสาขาได้ทั่วถึงมากยิ่งขึ้น

ชี้แจงข้อมูลโดย
ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ และ
ฝ่ายบริการช่วยค้นคว้าวิจัยและบริการพิเศษ สถาบันวิทยบริการ

เพิ่มเติม       วันที่ 13 พฤษภาคม 2548

ขอชี้แจงความคิดเห็นเพิ่มเติมของคุณพนักงาน หอสมุดกลาง สถาบันวิทยบริการ ยินดีรับหนังสือบริจาค โดยขอเน้นสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์
วิทยาศาสตร์ทั่วไป และสหสาขาวิชา หากหนังสือที่ได้รับมาเป็นสาขาที่เฉพาะเจาะจงมาก จะขออนุญาตบริจาคต่อให้กับห้องสมุดอื่นตามความเหมาะสม

สำหรับอายุของหนังสือ ไม่สามารถที่จะระบุได้ว่าเกินกี่ปีที่จะไม่รับ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเนื้อหาของหนังสือนั้น ๆ เช่น ถ้าเป็นหนังสือด้านคอมพิวเตอร์
จะขอรับเฉพาะปีปัจจุบัน

หากคุณ "พนักงาน" ต้องการบริจาคหนังสือตำรา ติดต่อได้ที่ ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ หอสมุดกลาง โทร. 02-2182921- 3 ค่ะ

10 มกราคม 2547

จาก http://www.cu-qa.chula.ac.th/suggest/sug_ans.asp?GID=1272

คำถาม      กระผมอยากให้สถาบันวิทยาบริการ เปิดบริการถึงเที่ยงคืนในช่วงสอบกลางภาค กระผมคิดว่าช่วงสอบมีคนมาใช้บริการในการอ่านหนังสือเป็นจำนวนมาก ควรจะเปิดให้บริการในช่วงนี้
และในช่วงสอบปลายภาคการศึกษาอยากให้เปิดบริการในชั้น 4 และ 5 ด้วย เนื่องจากคนส่วนใหญ่ต้องการที่จะอ่านกันถึงเที่ยงคืนทำให้มีการแย่งกันเข้าไปจองที่นั่งในชั้นที่ 1 และ 2 เป็นจำนวนมาก ซึ่งกระผมเห็นว่ามีที่นั่งไม่พอให้บริการซึ่งถ้าเปิดชั้น 4 และ ชั้น 5 จะช่วยลดปัญหานี้ได้บ้าง กระผมไม่เข้าใจว่าเป็นนโยบายประหยัดงบประมาณหรืออย่างไรจึงไม่เปิดบริการในชั้น 4 และ 5 แต่ถ้าเป็นในเรื่องนี้ผมว่าจุฬายังใช้เงินไปในทางที่ฟุ่มเฟือยกว่านี้อีกมาก เช่นฟุตบอลประเพณี และกิจกรรมหลายๆกิจกรรม ที่ใช้งบประมาณเกินความจำเป็น จึงขอให้ทางสถาบันวิทยบริการช่วยดำเนินการแก้ไขให้ด้วย

คำตอบ      

จึงเรียนมาเพื่อทราบ
สุภัทรียา จิตรกร เลขานุการสถาบันฯ
เรืองศรี จุลละจินดา QMR สถาบันฯ

7 ธันวาคม 2547
จาก http://www.cu-qa.chula.ac.th/suggest/sug_ans.asp?GID=1273

คำถาม      อยากให้ห้องน้ำชายในหอกลางมีการติดตะขอไว้แขวนของต่างๆด้วย

คำตอบ       สำนักงานเลขานุการ สถาบันฯ จะดำเนินการให้โดยเร็วที่สุด

4 พฤศจิกายน 2547
จาก http://www.academic.chula.ac.th/webboard/sug_answer.asp?GID=1186

คำถาม      I teach at a Japanese college. I live in Thailand for part of the year doing research. I would like to use the library facilities at the university. Is this possible?

คำตอบ      

Dear Mr. Walter Pleisch,
The Quality Assurance Division forwarded your inquiry about using the library facilities to the Center of Academic Resources: http://www.car.chula.ac.th/ . This Q-A message is also up now at http://www.academic.chula.ac.th/webboard/suggestion.asp

Please be advised that general public users or "non-Chula members" are welcome if they can apply their membership in one of two following types:

Membership Type A: Baht 1,500 (Annual Fee) + Baht 2,000 (Liability Deposit)
Rights of Membership
- Entitle to use the services of Central Library, Thailand Information Center, and Audio-visual Center
- Borrow the educational publications and materials from the Central Library

Membership Type B: Baht 500 (Annual Fee) or Baht 20 (Daily Fee)
Rights of Membership
- Entitle to use the services of Central Library, Thailand Information Center, and Audio-visual Center

For more details, please feel free to browse the related topic "Types and Application Fees" at http://www.car.chula.ac.th/information_files/membership.html

Thank you for your interest.
Best wishes,

Ruangsri Jullajinda (Miss)
Head, Ref & Special Services
Center of Academic Resources
Tel. 0 2218 2930
E-mail: ruangsri.j@car.chula.ac.th
Samorn Kornvirat (Mrs.)
Reference Librarian
Center of Academic Resources
Tel. 0 2218 2929
E-mail: samorn.k@car.chula.ac.th

28 กันยายน 2547
จาก http://www.academic.chula.ac.th/webboard/sug_answer.asp?GID=967

คำถาม      เนื่องจากว่าช่วงก่อนสอบไฟนอล 1 เดือน สถาบันวิทยบริการได้ทำการเปิดบริการถึง 24.00 น. แต่ว่าเปิดเพียงสองชั้นเท่านั้น คือชั้นล่าง กับชั้นที่สองอีกครึ่งชั้น ทำให้หลังเวลา 21.00 น.มี คนมาออกันอยู่ชั้นดังกล่าวเป็นจำนวนมาก เพราะที่นั่งอ่านหนังสือมีไม่เพียงพอ อีกทั้งยังทำให้เกิดเสียงดัง ซึ่งทำให้ไม่เอื้อต่อการอ่านหนังสือ ผมเลยอยากจะเสนอว่าไหนๆก้อเปิดแล้วน่าจะเปิดบริการให้ทุกชั้น เพื่อที่ว่านิสิตจะได้มีสถานที่ๆ ทำเอื้อต่อการอ่านหนังสือสอบ ไว้ใช้บริการครับ ขอบคุณครับ

คำตอบ       เลขานุการสถาบันวิทยบริการและ QMR สถาบันฯ ได้หารือกันแล้ว จะขอรับข้อคิดเห็นและคำแนะนำต่าง ๆ ของคุณอนันต์มาดำเนินการปรับปรุงแก้ไขต่อไป

 

จาก http://www.academic.chula.ac.th/webboard/sug_answer.asp?GID=784

เพิ่มเติม วันที่ 18 และ 31 สิงหาคม 2547      ตามที่ "เสียงสู่การพัฒนาและสร้างสรรค์" ได้ประมวลข้อเสนอแนะของ รศ. ดร. ธีระพร อุวรรณโณ และคำชี้แจงของ QMR สรุปขึ้นที่ http://www.academic.chula.ac.th/webboard/sug_answer.asp?GID=861 แล้วนั้น QMR ในนามของสถาบันฯ ขอชี้แจงเพิ่มเติมจากข้อมูลล่าสุดของคุณปรางทิพย์ อิศรางกูร ณ อยุธยา หัวหน้าฝ่ายบริการจ่าย-รับฯ ดังนี้ฯ

สืบเนื่องจาก QMR ได้นำเรื่องดังกล่าวเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการอำนวยการระบบประกันคุณภาพ เมื่อวันที่ 26สิงหาคม ที่ผ่านมา ประธานฯ จึงกำหนดให้มีการประชุมคณะกรรมการประสานงานห้องสมุด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในวันที่ 3 กันยายน เพื่อให้กรรมการจากห้องสมุดทุกคณะ/สถาบันได้รับทราบ และพิจารณาเรื่องนี้ร่วมกันเนื่องจากเกี่ยวข้องกับเครือข่ายจุฬาลิเน็ต ซึ่งจากการประสานงานของหัวหน้าฝ่ายบริการจ่าย-รับฯ สามารถจัดการประชุมวาระพิเศษสำหรับบรรณารักษ์เครือข่ายห้องสมุดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อพิจารณาเกี่ยวกับระเบียบการยืมหนังสือผลของการประชุมเมื่อวันที่ 23 กันยายนนี้ ได้ข้อสรุปว่า ให้ปรับระเบียบในส่วนสิทธิการยืม ของอาจารย์จากเดิมที่อาจารย์มีสิทธิยืมได้ครั้งละ 15 เล่ม เป็น 20 เล่ม โดยขยายเวลาการยืมจาก 3 สัปดาห์ เป็น 1 เดือน และยืมต่ออีกได้ในระยะเวลาเท่ากัน หากไม่มีผู้ขอจองหนังสือเล่มนั้น ทั้งนี้ สถาบันฯ จะได้จัดทำเป็นประกาศให้ทราบอีกครั้งหนึ่ง เพื่อดำเนินการตามข้อสรุปข้างต้นต่อไป

ชี้แจงโดย
เรืองศรี จุลละจินดา QMR สถาบันวิทยบริการ
ปรางทิพย์ อิศรางกูร ณ อยุธยา หัวหน้าฝ่ายบริการจ่าย-รับฯ

31 สิงหาคม 2547
จาก http://www.academic.chula.ac.th/webboard/sug_answer.asp?GID=861

คำถาม      สืบเนื่องจากกระทู้ของวันที่ 18 ส.ค.47 จากรศ.ดร.ธีระพร อุวรรณโณ ได้เสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับหอสมุดกลาง ไปยังสถาบันวิทยบริการโดยตรงว่า การที่หอสมุดกลาง สถาบันวิทยบริการของจุฬาฯ อนุญาตให้อาจารย์ยืมหนังสือของหอสมุดกลางฯ ได้เพียง 3 สัปดาห์ และยืมต่อได้เพียง 1 ครั้ง (แม้จะไม่มีใครจองหนังสือนั้นไว้ก็ตาม) ผมเห็นว่าระยะเวลาให้ยืมสั้นเกินไป และเงื่อนไขการยืมต่อก็จำกัดเกินไป ระยะเวลาและเงื่อนไขการยืมนี้ทำให้อาจารย์ไม่สามารถนำหนังสือที่ยืมไปใช้ประโยชน์ในการสอนหรือการวิจัยได้มากนัก (ยกเว้น อาจารย์นำไปถ่ายเอกสารไว้ทั้งเล่ม) ผมจึงเสนอให้ตัดเงื่อนไขการยืมต่อออกไปเหลือเพียงว่าให้ยืมต่อได้ตราบเท่าที่ไม่มีคนอื่นมาจองไว้ และเสนอทางเลือกใหม่ 2 ทางดังนี้ 1. ขยายเวลาการให้ยืมออกไปเป็นครั้งละ 2 เดือน ในจำนวนเล่มที่ให้ยืมได้เท่าเดิม ซึ่งจัดเป็นทางสายกลางเมื่อเทียบกับสถาบันอื่น ๆ ที่เสนอมา หรือ 2. เพิ่มประเภทหนังสือที่ยืมเพื่อใช้ “ประกอบการสอนหรือวิจัย” อีกหนึ่งประเภท ให้ยืมได้ 15 เล่ม (ถ้าสอน 2 วิชาเท่ากับวิชาละประมาณ 7-8 เล่ม ถ้าสอน 3 วิชาเท่ากับวิชาละ 5 เล่ม) ครั้งละ 1 ภาคการศึกษา ท่านอาจพิจารณาแล้วได้ข้อสรุปที่ต่างไปจากนี้ก็ไม่เป็นไร แต่ผมคิดว่าควรจะนำจุฬา ฯ ให้พ้นไปจากลำดับเกือบสุดท้ายเถอะครับ 
(รองศาสตราจารย์ ดร. ธีระพร อุวรรณโณ Theeraporn.U@chula.ac.th ผู้อำนวยการหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาสังคม คณะจิตวิทยา จุฬาฯ) 

คำตอบ       สถาบันวิทยบริการจะนำเรื่องดังกล่าวเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการอำนวยการระบบประกันคุณภาพ หากได้ข้อสรุปประการใดจะแจ้งให้ทราบต่อไป

จาก http://www.academic.chula.ac.th/webboard/sug_answer.asp?GID=784

เพิ่มเติม       วันที่ 28 กันยายน 2547

ตามที่ "เสียงสู่การพัฒนาและสร้างสรรค์า" ได้ประมวลข้อเสนอแนะของ รศ. ดร. ธีระพร อุวรรณโณ และคำชี้แจงของ QMR สรุปขึ้นที่ http://www.academic.chula.ac.th/webboard/sug_answer.asp?GID=861 แล้วนั้น QMR ในนามของสถาบันฯ ขอชี้แจงเพิ่มเติมจากข้อมูลล่าสุดของคุณปรางทิพย์ อิศรางกูร ณ อยุธยา หัวหน้าฝ่ายบริการจ่าย-รับฯ ดังนี้ฯ

สืบเนื่องจาก QMR ได้นำเรื่องดังกล่าวเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการอำนวยการระบบประกันคุณภาพ เมื่อวันที่ 26สิงหาคม ที่ผ่านมา ประธานฯ จึงกำหนดให้มีการประชุมคณะกรรมการประสานงานห้องสมุด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในวันที่ 3 กันยายน เพื่อให้กรรมการจากห้องสมุดทุกคณะ/สถาบันได้รับทราบ และพิจารณาเรื่องนี้ร่วมกันเนื่องจากเกี่ยวข้องกับเครือข่ายจุฬาลิเน็ต ซึ่งจากการประสานงานของหัวหน้าฝ่ายบริการจ่าย-รับฯ สามารถจัดการประชุมวาระพิเศษสำหรับบรรณารักษ์เครือข่ายห้องสมุดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อพิจารณาเกี่ยวกับระเบียบการยืมหนังสือผลของการประชุมเมื่อวันที่ 23 กันยายนนี้ ได้ข้อสรุปว่า ให้ปรับระเบียบในส่วนสิทธิการยืม ของอาจารย์จากเดิมที่อาจารย์มีสิทธิยืมได้ครั้งละ 15 เล่ม เป็น 20 เล่ม โดยขยายเวลาการยืมจาก 3 สัปดาห์ เป็น 1เดือน และยืมต่ออีกได้ในระยะเวลาเท่ากัน หากไม่มีผู้ขอจองหนังสือเล่มนั้น ทั้งนี้ สถาบันฯ จะได้จัดทำเป็นประกาศให้ทราบอีกครั้งหนึ่ง เพื่อดำเนินการตามข้อสรุปข้างต้นต่อไป

จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและดำเนินการ
เรืองศรี จุลละจินดา QMR สถาบันวิทยบริการ
ปรางทิพย์ อิศรางกูร ณ อยุธยา หัวหน้าฝ่ายบริการจ่าย-รับฯ

18 สิงหาคม 2547
จาก http://www.academic.chula.ac.th/webboard/sug_answer.asp?GID=784

คำถาม      ผมประสงค์จะเสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับหอสมุดกลางมาเป็นอีเมล์ เพราะมีตารางแนบมาด้วย ไม่สะดวกที่จะส่งขึ้นที่นี่ ขอความกรุณาแจ้งอีเมล์ที่ผมจะส่งความคิดเห็นมาได้มาให้ผมทราบด้วยครับ ขอบคุณครับ

คำตอบ       ทางส่วนประกันคุณภาพขอจัดส่งเบอร์ E-mail ของผู้แทนฝ่ายบริหารด้านประกันคุณภาพ (QMR) ของสถาบันวิทยบริการ คือคุณเรืองศรี จุลละจินดา Ruangsri.j@car.chula.ac.th มาให้ค่ะ

14 สิงหาคม 2547
จาก http://www.academic.chula.ac.th/webboard/sug_answer.asp?GID=771

คำถาม     

  1. ผมอยากเห็นจุฬาฯเป็นมหาวิทยาลัยที่ไม่หลับ..เช่น ห้องสมุดเปิดบริการทุกวันไม่มีวันหยุดราชการโดยจัดเจ้าหน้าผลัดเวรกันมาทำงาน 

  2. ผมอยากเห็นห้องสมุดจุฬาฯไม่เก็บเงินในการเข้าไปใช้บริการโดยเฉพาะเด็กนักเรียน(ตอนนี้น่าจะมีเพียงครุศาสตร์เท่านั้นมั้งครับท่ไม่เก็บเงิน)

คำตอบ      

        คำถามที่ 1 การเปิดให้บริการห้องสมุดทุกวันโดยไม่มีวันหยุดนั้น ต้องใช้งบประมาณเพิ่มจำนวนหนึ่ง ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายทั้งด้านบุคลากร อาคารสถานที่ และระบบสาธารณูปโภค 
สถาบันวิทยบริการ ในฐานะที่เป็นหน่วยงานกลางในการให้บริการทรัพยากรสารสนเทศ ทั้งในรูปสื่อสิ่งพิมพ์ 
สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่อโสตทัศน์ ได้เคยนำเสนอทางเลือกในการเปิดให้บริการทุกวันโดยไม่มีวันหยุดราชการ แก่มหาวิทยาลัยเพื่อพิจารณา ไปแล้ว ซึ่งจะติดตามผลการพิจารณาแจ้งให้ทราบต่อไป
สำหรับการเปิดให้บริการของสถาบันวิทยบริการ ท่านสามารถดูข้อมูลได้ที่ http://www.car.chula.ac.th/information_files/Open-hours.html โดยช่วงก่อนสอบประมาณ 6 สัปดาห์ ได้เปิดให้บริการ ตั้งแต่เวลา 07.00 –24.00 น ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 จนปัจจุบัน นอกจากนี้ท่านสามารถใช้บริการสืบค้นข้อมูลผ่านเว็บไซต์ของสถาบันฯ ได้ที่ http://www.car.chula.ac.thทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง อีกด้วย
        คำถามที่ 2 พันธกิจหลักที่สถาบันวิทยบริการได้รับมอบหมายจากมหาวิทยาลัย คือ การให้บริการวิชาการแก่ประชาคม จุฬาฯ โดยมหาวิทยาลัยได้จัดสรรงบประมาณส่วนหนึ่งจากค่าลงทะเบียนของนิสิตมาสนับสนุนการดำเนินงานของสถาบันฯ ประกอบกับมหาวิทยาลัยมีประกาศ เรื่องเกณฑ์จัดเก็บเงินค่าบำรุงสมาชิก สถาบันวิทยบริการ พ.ศ. 2547 โดยรวมอัตราการจัดเก็บค่าใช้บริการรายวันสำหรับบุคคลภายนอก ด้วย ซึ่งสถาบันฯ ต้องถือปฏิบัติตามประกาศดังกล่าว

ชี้แจงโดย 
สำนักงานเลขานุการ สถาบันวิทยบริการ 
webmaster@car.chulac.th

13 กรกฎาคม 2547
จาก http://www.academic.chula.ac.th/webboard/sug_answer.asp?GID=638

คำถาม      อยากให้ระบบcomกับเครื่องcomที่หอกลางมีมากกว่านี้และทำงานเร็วกว่าเดิม มีบริการปริ้นเอกสารหรืองานด้วยจะดีมาก

คำตอบ       จากข้อเสนอแนะเกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่หอสมุดกลาง สถาบันวิทยบริการ นั้น ขอเรียนให้ทราบว่า สถาบันฯ ได้ตระหนักถึงเรื่องดังกล่าวมาโดยตลอด จึงได้ดำเนินการของบประมาณจากมหาวิทยาลัยตั้งแต่ปีงบประมาณ 2547 แต่ได้รับงบประมาณเฉพาะในส่วนของเครื่องคอมพิวเตอร์บริการอินเทอร์เน็ต บริการ Multimedia และห้องอบรมคอมพิวเตอร์ ดังนั้น ในปีงบประมาณ 2548 นี้ สถาบันฯ ได้ดำเนินการอีกครั้งในส่วนของเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้บริการฐานข้อมูลห้องสมุด (WEBOPAC) ซึ่งถ้าได้รับการอนุมัติงบประมาณ ผู้รับบริการจะมีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้งานเพิ่มมากขึ้น และมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น

สำหรับบริการสั่งพิมพ์เอกสารนั้น สถาบันฯ ได้จัดเครื่องพรินเตอร์ไว้บริการสั่งพิมพ์ผลการสืบค้นจากฐานข้อมูลที่งานบริการสืบค้นสารสนเทศ ชั้น 1 โดยคิดอัตราค่าบริการตามประกาศของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกจากนี้ สถาบันฯ มีโครงการจะเพิ่มบริการสั่งพิมพ์เอกสารจากจุดบริการอินเทอร์เน็ต โดยได้ดำเนินการของบประมาณปี 2548 นี้เช่นกัน เพื่อจัดหาอุปกรณ์สำหรับการให้บริการดังกล่าว

ทั้งนี้ สถาบันฯ ขอประชาสัมพันธ์บริการเครือข่ายไร้สาย (Wireless LAN) สำหรับผู้รับบริการที่อยู่ในประชาคมจุฬาฯ ท่านสามารถนำเครื่องคอมพิวเตอร์ Notebook ของตนเองมาใช้บริการระบบเครือข่ายไร้สายภายในสถาบันฯ ได้ 2 รูปแบบ คือ

1. ติดต่อยืมการ์ดเครือข่ายไร้สาย (Wireless Card Adapter) พร้อมคู่มือการติดตั้ง ได้ที่เคาน์เตอร์จ่าย-รับฯ ชั้น 1 

2. ลงทะเบียนการ์ดเครือข่ายไร้สาย ผ่านเว็บไซต์ http://www.it.chula.ac.th ของสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับคอมพิวเตอร์ที่มีอุปกรณ์เครือข่ายไร้สายตามมาตรฐาน IEEE 802.11g และ 802.11b

เพียงเท่านี้ท่านก็สามารถสืบค้นข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ อาทิ ฐานข้อมูลห้องสมุด ฐานข้อมูลเพื่อการค้นคว้าวิจัย (CU Reference Databases) และแหล่งสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ได้อย่างอิสระมากขึ้น ในบริเวณพื้นที่การให้บริการของหอสมุดกลาง สถาบันวิทยบริการ

ชี้แจงโดย
ฝ่ายบริการผู้อ่าน และ
ฝ่ายระบบสารสนเทศ